วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2567

รมว. ท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมด้วย ผู้ว่าการ ททท. ร่วมปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ : เดินหน้าท่องเที่ยวไทย ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 ของ สทท.

รมว. ท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมด้วย ผู้ว่าการ ททท. ร่วมปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ : เดินหน้าท่องเที่ยวไทย ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 ของ สทท.



       นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 แถลงนโยบาย สทท. ประจำปี 2567 และแถลงข่าว "ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทยและอัพเดตสถานการณ์ทองเที่ยว" ไตรมาส 2/2567  พร้อมฟังการบรรยายปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "เดินหน้าท่องเที่ยวไทย" จากนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โดยมี นายจีรวัฒน์ ลีนะกนิษฐ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดร.เพ็ญพิสุทธ์ จินตโสภณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายวิทวัส เมฆสุต นายกสมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวไทย (สนท.) นายวัสน์พล อรรถพรธนเสฐ นายกสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย คณะกรรมการบริหาร และสมาชิก สทท. ทั่วประเทศ ร่วมรับฟัง ณ ห้องอัศวิน แกรนด์ เอ โรงแรมอัศวินแกรนด์ คอนเวนชั่น เมื่อวันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2567



        สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เชื่อมั่นรายได้ท่องเที่ยว 35 ล้านล้านบาทเป็นไปได้ เสนอตั้ง Team Thailand ปั้นการตลาดแบบมุ่งเป้า สร้างสมดุล Demand-Supply กระจายรายได้จากเมืองหลักสู่เมืองน่าเที่ยว




        การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไตรมาส 2/2567 อยู่ที่ระดับ 79 ลดลงจากไตรมาส 1/2567 ที่ระดับ 81 สะท้อนสถานการณ์ท่องเที่ยวยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปกติมาก ส่วนไตรมาสหน้า 3/2567 อยู่ที่ระดับ 75 ลดลงจากไตรมาสนี้แต่ดีกว่าปีที่ผ่านมา



       ไตรมาสนี้ ธุรกิจบริการขนส่งผู้โดยสาร บริษัทนำเที่ยว ธุรกิจสปา สถานบันเทิง และแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น ประเมินรายได้ไตรมาสนี้ดีกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนธุรกิจที่พักแรม ร้านอาหาร ร้านขายของฝากของที่ระลึก รายได้ลดลง ในภาพรวมประเมินว่ารายได้อยู่ที่ร้อยละ 48 เทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 ธุรกิจร้านขายของฝากมีการฟื้นตัวของรายได้ช้ากว่าธุรกิจอื่น อ้ตราการจ้างงานกลับมาแล้ว 99% สิ่งที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญคือ การพัฒนาทักษะให้มีคุณภาพสูงขึ้น ส่วนเรื่อง Digital Wallet ผู้ประกอบการร้อยละ 40 ไม่เห็นด้วย เนื่องจากไม่สามารถใช้กับการท่องเที่ยว และร้อยละ 76 ต้องการให้โครงการ Digital wallet สามารถใช้กระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศได้




      นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) กล่าวว่า ในด้าน Demand รายได้ 35 ล้านล้านบาทนั้นสามารถทำได้ ปัจจัยอยู่ที่นโยบายรัฐ และความพร้อมของ Supply Side รัฐบาลชุดนี้ได้ขับเคลื่อนเชิงนโยบายที่ได้ผลหลายอย่างเช่น มาตรการ Free Visa 93 ประเทศ-พื้นที่ / การขับเคลื่อน
Softpower เพื่อการท่องเที่ยว / การส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ / การผลักดันให้เกิด Mega Event ต่างๆ / การส่งเสริมเมืองรองให้เป็นเมืองน่าเที่ยวผ่านมาตรการภาษี




       ด้าน นางฉลอง สงล่า ประธานสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (TFOPTA) กล่าวว่า TFOPTA เป็นตัวแทนของผู้ประกอบการในต่างจังหวัดกว่า 100 สมาคม ส่วนใหญ่มาจาก 55 เมืองรอง ซึ่งวันนี้เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่รัฐบาลสนับสนุนให้เป็นเมืองน่าเที่ยว และมีนโยบายส่งเสริม เช่น มาตรการภาษีกระตุ้นสัมมนาในประเทศสำหรับนิติบุคคล และกระตุ้นการท่องเที่ยวสำหรับบุคคลธรรมดา 15,000 บาท สมาชิก TFOPTA คือ เจ้าของสินค้าและบริการในท้องถิ่น สิ่งที่ท้าทายคือ เราต้องพัฒนาสินค้าให้สะดวก สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน และมีนวัตกรรม จุดอ่อนของเมืองรองคือ ความสะดวกในการเดินทาง ความพร้อมของบุคลากรและแหล่งท่องเที่ยว และการยังไม่เป็นที่รู้จักของทั้งนักท่องเที่ยวและ Travel Agency ดังนั้นเราต้องการ 4 เรื่องคือ การฝึกอบรมและ Workshop สร้าง 5 Must do 55 เมือง บัสทัวร์ทั่วไทย 5,000 เที่ยว ส่งเสริมการท่องเที่ยวข้ามภาค 5 ภาค การจัดมหกรรมท่องเที่ยว 5 ภาค และการจัด Fam Trip แนะนำแหล่งท่องเที่ยวในเมืองน่าเที่ยวให้กับ Agent และ Influencer




         ส่วน นายกิตติ พรศิวะกิจ ประธาน Smart Tourism สทท. และกรรมการ ททท. กล่าวว่า จำนวนนักท่องเที่ยวในครึ่งปีแรกถือว่าทำได้ตามเป้าที่ 17.5 ล้านคน ความท้าทายอยู่ที่ครึ่งปีหลัง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ 3 Scenario คือ
1. Worse Case ถือเป็นรายได้ขั้นต่ำที่ต้องทำให้ได้ = 2.7 ล้านล้านบาท มาจาท 36 ล้านคน x 50,000 บาท ต่อคนต่อทริป = 1 .8 ล้านล้านบาท และไทยเที่ยวไทย 200 ล้านคนครั้ง x 4,500 = 0.9 ล้านล้านบาท
2. Base Case = เป้าท้าทายที่เป็นไปได้ = 3 ล้านล้านบาท มาจาก 38 ล้านคน x 50,000 บาท ต่อคนต่อทริป = 1.9 ล้านล้านบาท และ 220 ล้านคนครั้ง × 5,000 = 1.1 ล้านล้านบาท จากไทยเที่ยวไทย เป้านี้ถือว่าท้าทาย แต่มีโอกาสทำได้สูง เราควรตั้งเป็าหมายที่ 3.02 ล้านล้านบาทถือเป็น New High เพราะเราเคยได้ 3.01 ล้านล้านบาทในปี 2562
3. Best Case 3.5 ล้านล้านบาท = เป้าหมายสูงสุด ที่ทำได้จาก 40 ล้านคน x 56,000 บาท = 2.24 ล้านบาท และไทยเที่ยวไทยอีก 1.26 ล้านบาท = 229 ล้านคนครั้ง x 5,500 บาท



        ดังนั้นโจทย์ที่ต้องทำเพื่อเพิ่มรายได้จาก 2.7 เป็น 3.5 ล้านล้านบาท คือ
1. เติมจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 4 ล้านคน จาก 36 เป็น 40 ล้านคน
2. เพิ่มค่าใช้จ่ายนักท่องเที่ยวต่างชาติ จาก 50,000 เป็น 56,000 บาท
3. เพิ่มจำนวนทริปและค่าใช้จ่าย ไทยเที่ยวไทย



        นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) กล่าวเสริมว่า เพื่อเพิ่มรายได้จาก 2.7 ล้านล้านบาท เป็น 3.5 ล้านล้านบาท ยุทธศาสตร์ที่ สทท. เสนอต่อภาครัฐคือ
1. เติมนักท่องเที่ยวต่างชาติ 4 ล้านคน ระยะสั้น 1. 5 ล้านคน ใน Q3 เช่น ตะวันออกกลาง อินเดีย จีนและคนเชื้อสายจีน อาเชียน และออสเตรเลีย / Q4 25 ล้านคน ในช่วง Hi-Season โดย Mega Event /Joint Promotion / Influencer
2. เพิ่ม Spending โดยเพิ่มวันพัก เพิ่มค่าใช้จ่ายต่อวัน เราต้องหากิจกรรมเสริม เติมเมืองน่าเที่ยว เติมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กีฬาชุมชน สิ่งแวดล้อม อาหาร ผลไม้ สินค้าของฝาก OTOP / GI ผ่าน Softpower ต่างๆ ของรัฐบาล เพื่อเพิ่มรายได้ 12%




3. เพิ่มรายได้ไทยเที่ยวไทยด้วย บัสทัวร์ทั่วไทย รัฐทัวร์ทั่วไทย อบท.เที่ยวช่วยชาติ และ Digital Wallet เพื่อการท่องเที่ยวในประเทศ เพิ่มรายได้ 250,000 ล้านบาท ได้ในปีนี้
4. เพิ่มพันธมิตรทางการตลาด โดยสร้าง Thailand Team 29 สำนักงาน ททท. x 10 agent ช่วยกันทำตลาดเชิงรุก-เชิงรับ ร่วมกับ 100 คลังสมองท่องเที่ยวไทย
5. เพิ่มศักยภาพบุคลากรและผู้ประกอบการด้วย Tourism Clinic เช่น อบรมมัคคุเทศก์ และ facilitator สำหรับ Medical & Wellness / การฝึกอบรมภาษาอาหรับ จีน รัสเซีย เกาหลี ฯลฯ/ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและธุรกิจท่องเที่ยวที่ตอบโจทย์ Mega Trend / การบริหารการเงินและภาษี / การใช้เทคโนโลยี AI & Cloud เพื่อการท่องเที่ยว การยกระดับสู่ Tourism Development Goal (STG) เป็นต้น
6. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของการท่องเที่ยวในระยะยาว เพื่อผลักดันดัชนี TTD/ จากอันดับที่ 47 สู่ 25 ของโลก โดยใช้กองทุนท่องเที่ยวฯ เพื่อซ่อมสร้างคนและแหล่งท่องเที่ยว ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย ห้องน้ำสะอาด ป้ายบอกทาง ร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อการเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เสด็จพระราชทานเข็ม “พุ่มเพชร

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เสด็จพระราชทานเข็ม “พุ่มเพชร”  สัญลักษณ์ของมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพร...