วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2567

รมว. ท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมด้วย ผู้ว่าการ ททท. ร่วมปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ : เดินหน้าท่องเที่ยวไทย ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 ของ สทท.

รมว. ท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมด้วย ผู้ว่าการ ททท. ร่วมปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ : เดินหน้าท่องเที่ยวไทย ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 ของ สทท.



       นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 แถลงนโยบาย สทท. ประจำปี 2567 และแถลงข่าว "ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทยและอัพเดตสถานการณ์ทองเที่ยว" ไตรมาส 2/2567  พร้อมฟังการบรรยายปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "เดินหน้าท่องเที่ยวไทย" จากนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โดยมี นายจีรวัฒน์ ลีนะกนิษฐ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดร.เพ็ญพิสุทธ์ จินตโสภณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายวิทวัส เมฆสุต นายกสมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวไทย (สนท.) นายวัสน์พล อรรถพรธนเสฐ นายกสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย คณะกรรมการบริหาร และสมาชิก สทท. ทั่วประเทศ ร่วมรับฟัง ณ ห้องอัศวิน แกรนด์ เอ โรงแรมอัศวินแกรนด์ คอนเวนชั่น เมื่อวันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2567



        สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เชื่อมั่นรายได้ท่องเที่ยว 35 ล้านล้านบาทเป็นไปได้ เสนอตั้ง Team Thailand ปั้นการตลาดแบบมุ่งเป้า สร้างสมดุล Demand-Supply กระจายรายได้จากเมืองหลักสู่เมืองน่าเที่ยว




        การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไตรมาส 2/2567 อยู่ที่ระดับ 79 ลดลงจากไตรมาส 1/2567 ที่ระดับ 81 สะท้อนสถานการณ์ท่องเที่ยวยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปกติมาก ส่วนไตรมาสหน้า 3/2567 อยู่ที่ระดับ 75 ลดลงจากไตรมาสนี้แต่ดีกว่าปีที่ผ่านมา



       ไตรมาสนี้ ธุรกิจบริการขนส่งผู้โดยสาร บริษัทนำเที่ยว ธุรกิจสปา สถานบันเทิง และแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น ประเมินรายได้ไตรมาสนี้ดีกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนธุรกิจที่พักแรม ร้านอาหาร ร้านขายของฝากของที่ระลึก รายได้ลดลง ในภาพรวมประเมินว่ารายได้อยู่ที่ร้อยละ 48 เทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 ธุรกิจร้านขายของฝากมีการฟื้นตัวของรายได้ช้ากว่าธุรกิจอื่น อ้ตราการจ้างงานกลับมาแล้ว 99% สิ่งที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญคือ การพัฒนาทักษะให้มีคุณภาพสูงขึ้น ส่วนเรื่อง Digital Wallet ผู้ประกอบการร้อยละ 40 ไม่เห็นด้วย เนื่องจากไม่สามารถใช้กับการท่องเที่ยว และร้อยละ 76 ต้องการให้โครงการ Digital wallet สามารถใช้กระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศได้




      นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) กล่าวว่า ในด้าน Demand รายได้ 35 ล้านล้านบาทนั้นสามารถทำได้ ปัจจัยอยู่ที่นโยบายรัฐ และความพร้อมของ Supply Side รัฐบาลชุดนี้ได้ขับเคลื่อนเชิงนโยบายที่ได้ผลหลายอย่างเช่น มาตรการ Free Visa 93 ประเทศ-พื้นที่ / การขับเคลื่อน
Softpower เพื่อการท่องเที่ยว / การส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ / การผลักดันให้เกิด Mega Event ต่างๆ / การส่งเสริมเมืองรองให้เป็นเมืองน่าเที่ยวผ่านมาตรการภาษี




       ด้าน นางฉลอง สงล่า ประธานสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (TFOPTA) กล่าวว่า TFOPTA เป็นตัวแทนของผู้ประกอบการในต่างจังหวัดกว่า 100 สมาคม ส่วนใหญ่มาจาก 55 เมืองรอง ซึ่งวันนี้เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่รัฐบาลสนับสนุนให้เป็นเมืองน่าเที่ยว และมีนโยบายส่งเสริม เช่น มาตรการภาษีกระตุ้นสัมมนาในประเทศสำหรับนิติบุคคล และกระตุ้นการท่องเที่ยวสำหรับบุคคลธรรมดา 15,000 บาท สมาชิก TFOPTA คือ เจ้าของสินค้าและบริการในท้องถิ่น สิ่งที่ท้าทายคือ เราต้องพัฒนาสินค้าให้สะดวก สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน และมีนวัตกรรม จุดอ่อนของเมืองรองคือ ความสะดวกในการเดินทาง ความพร้อมของบุคลากรและแหล่งท่องเที่ยว และการยังไม่เป็นที่รู้จักของทั้งนักท่องเที่ยวและ Travel Agency ดังนั้นเราต้องการ 4 เรื่องคือ การฝึกอบรมและ Workshop สร้าง 5 Must do 55 เมือง บัสทัวร์ทั่วไทย 5,000 เที่ยว ส่งเสริมการท่องเที่ยวข้ามภาค 5 ภาค การจัดมหกรรมท่องเที่ยว 5 ภาค และการจัด Fam Trip แนะนำแหล่งท่องเที่ยวในเมืองน่าเที่ยวให้กับ Agent และ Influencer




         ส่วน นายกิตติ พรศิวะกิจ ประธาน Smart Tourism สทท. และกรรมการ ททท. กล่าวว่า จำนวนนักท่องเที่ยวในครึ่งปีแรกถือว่าทำได้ตามเป้าที่ 17.5 ล้านคน ความท้าทายอยู่ที่ครึ่งปีหลัง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ 3 Scenario คือ
1. Worse Case ถือเป็นรายได้ขั้นต่ำที่ต้องทำให้ได้ = 2.7 ล้านล้านบาท มาจาท 36 ล้านคน x 50,000 บาท ต่อคนต่อทริป = 1 .8 ล้านล้านบาท และไทยเที่ยวไทย 200 ล้านคนครั้ง x 4,500 = 0.9 ล้านล้านบาท
2. Base Case = เป้าท้าทายที่เป็นไปได้ = 3 ล้านล้านบาท มาจาก 38 ล้านคน x 50,000 บาท ต่อคนต่อทริป = 1.9 ล้านล้านบาท และ 220 ล้านคนครั้ง × 5,000 = 1.1 ล้านล้านบาท จากไทยเที่ยวไทย เป้านี้ถือว่าท้าทาย แต่มีโอกาสทำได้สูง เราควรตั้งเป็าหมายที่ 3.02 ล้านล้านบาทถือเป็น New High เพราะเราเคยได้ 3.01 ล้านล้านบาทในปี 2562
3. Best Case 3.5 ล้านล้านบาท = เป้าหมายสูงสุด ที่ทำได้จาก 40 ล้านคน x 56,000 บาท = 2.24 ล้านบาท และไทยเที่ยวไทยอีก 1.26 ล้านบาท = 229 ล้านคนครั้ง x 5,500 บาท



        ดังนั้นโจทย์ที่ต้องทำเพื่อเพิ่มรายได้จาก 2.7 เป็น 3.5 ล้านล้านบาท คือ
1. เติมจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 4 ล้านคน จาก 36 เป็น 40 ล้านคน
2. เพิ่มค่าใช้จ่ายนักท่องเที่ยวต่างชาติ จาก 50,000 เป็น 56,000 บาท
3. เพิ่มจำนวนทริปและค่าใช้จ่าย ไทยเที่ยวไทย



        นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) กล่าวเสริมว่า เพื่อเพิ่มรายได้จาก 2.7 ล้านล้านบาท เป็น 3.5 ล้านล้านบาท ยุทธศาสตร์ที่ สทท. เสนอต่อภาครัฐคือ
1. เติมนักท่องเที่ยวต่างชาติ 4 ล้านคน ระยะสั้น 1. 5 ล้านคน ใน Q3 เช่น ตะวันออกกลาง อินเดีย จีนและคนเชื้อสายจีน อาเชียน และออสเตรเลีย / Q4 25 ล้านคน ในช่วง Hi-Season โดย Mega Event /Joint Promotion / Influencer
2. เพิ่ม Spending โดยเพิ่มวันพัก เพิ่มค่าใช้จ่ายต่อวัน เราต้องหากิจกรรมเสริม เติมเมืองน่าเที่ยว เติมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กีฬาชุมชน สิ่งแวดล้อม อาหาร ผลไม้ สินค้าของฝาก OTOP / GI ผ่าน Softpower ต่างๆ ของรัฐบาล เพื่อเพิ่มรายได้ 12%




3. เพิ่มรายได้ไทยเที่ยวไทยด้วย บัสทัวร์ทั่วไทย รัฐทัวร์ทั่วไทย อบท.เที่ยวช่วยชาติ และ Digital Wallet เพื่อการท่องเที่ยวในประเทศ เพิ่มรายได้ 250,000 ล้านบาท ได้ในปีนี้
4. เพิ่มพันธมิตรทางการตลาด โดยสร้าง Thailand Team 29 สำนักงาน ททท. x 10 agent ช่วยกันทำตลาดเชิงรุก-เชิงรับ ร่วมกับ 100 คลังสมองท่องเที่ยวไทย
5. เพิ่มศักยภาพบุคลากรและผู้ประกอบการด้วย Tourism Clinic เช่น อบรมมัคคุเทศก์ และ facilitator สำหรับ Medical & Wellness / การฝึกอบรมภาษาอาหรับ จีน รัสเซีย เกาหลี ฯลฯ/ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและธุรกิจท่องเที่ยวที่ตอบโจทย์ Mega Trend / การบริหารการเงินและภาษี / การใช้เทคโนโลยี AI & Cloud เพื่อการท่องเที่ยว การยกระดับสู่ Tourism Development Goal (STG) เป็นต้น
6. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของการท่องเที่ยวในระยะยาว เพื่อผลักดันดัชนี TTD/ จากอันดับที่ 47 สู่ 25 ของโลก โดยใช้กองทุนท่องเที่ยวฯ เพื่อซ่อมสร้างคนและแหล่งท่องเที่ยว ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย ห้องน้ำสะอาด ป้ายบอกทาง ร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อการเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน



เที่ยวจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมสถานที่ท่องเที่ยวที่ต้องมาให้ได้ในคนละเป็ก EP.31-32 เที่ยวปัตตานี สัมผัสเสน่ห์ชายแดนใต้ สุขทันที ที่เที่ยวไทย

เที่ยวจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว  

รวมสถานที่ท่องเที่ยวที่ต้องมาให้ได้ในคนละเป็ก EP.31-32

เที่ยวปัตตานี สัมผัสเสน่ห์ชายแดนใต้  สุขทันที ที่เที่ยวไทย

       คนละเป็กEP.31-32 พี่เป็กและหม่อมนถนัดแดกขอแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในปัตตานีที่รวมความสวยงามของธรรมชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และผู้คนที่จะทำให้คุณหลงรักเสน่ห์ของปัตตานีและได้เก็บความทรงจำดีๆของจังหวัดนี้

        เริ่มที่นี่ มัสยิดกรือเซะ มัสยิดเก่าแก่อายุกว่า 450 ปี ร่วมสมัยกับยุคกรุงศรีอยุธยาปัจจุบันนี้ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ.2478 และทำการบูรณะซ่อมแซมทั้งนี้เพื่อให้มัสยิดกรือเซะคงสภาพเป็นโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองปัตตานี และใช้เป็นที่ปฏิบัติศาสนกิจได้ต่อไป

        แหลมตาชี จุดอันซีนความงามจากธรรมชาติ ที่นี่จะเป็นบริเวณของสันทรายที่ยื่นออกไปในทะเล ในลักษณะแบบจะงอย ทำให้เกิดเป็นอ่าวปัตตานีด้านในของแหลม มีความยาวประมาณ 16 กิโลเมตร และชายฝั่งก็จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอๆ จากคลื่นลมและกระแสน้ำถือว่าเป็นไฮไลท์ของที่นี่เลย

        ตลาดท่าเทียบเรือประมงปัตตานี เป็นท่าเทียบเรือประมงที่ใหญ่ที่สุดในพื้นที่ชายแดนใต้ เป็นแหล่งรวมอาหารทะเลและเป็นอีกสายน้ำทางเศรษฐกิจในพื้นที่และเป็นแหล่งส่งออกของทะเลให้กับทั่วทั้งประเทศใครอยากได้ของสดๆต้องห้ามพลาดที่นี่เลย

        แพปูโชคอุดมรัชฏ์ “รับจากทะเล คืนสู่ทะเล” พี่เป็กและหม่อมถนัดแดกพาชมกระบวนการเพาะพันธ์ปูม้าซึ่งเป็นการทำประมงอย่างยั่งยืนและได้ปล่อยแม่พันธุ์ปูลงสู่ทะเลปัตตานี โดยแพปูโชคอุดมรัชฎ์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าเนื้อปูม้าต้มสุกพรีเมี่ยม  มีจุดเด่นเป็นเนื้อปูเกรดพรีเมี่ยม สด อร่อย เนื้อแน่น เป็นสินค้าคุณภาพขึ้นชื่อของจังหวัดปัตตานี

         ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เป็นศาลศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่เมืองปัตตานีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ชาวบ้านต่างให้ความเคารพนับถือ เดินทางมาสักการะบูชาเพื่อขอให้ประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ ซึ่งก็ได้สมดังหวังกันไปหลายราย เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ และศูนย์รวมศรัทธาเสมอมา

         วัดช้างให้ วัดเก่าแก่สร้างมาแล้วกว่า 300 ปี ภายในวิหารมีรูปปั้นหลวงปู่ทวดเท่าองค์จริงประดิษฐานอยู่ นอกจากนี้ยังมีสถาปัตยกรรมของสถูปเจดีย์ มณฑป อุโบสถและหอระฆัง ที่งดงามเป็นอย่างยิ่ง

          และ วัดทรายขาว จุดเริ่มต้นในอีพี32 วัดทรายขาว เป็นวัดที่มีความสวยงามอลังการด้วยสถาปัตยกรรมที่วิจิตรงดงามแปลกตา สีสดใส ทั้งพระอุโบสถ เจดีย์ วิหาร รูปปั้นเทพต่างๆ ผสมผสานศิลปะแบบหลากหลาย ทั้ง ศิลปะแบบ ไทย พม่า อินเดีย เมื่อเดินเข้ามาภายในวัดให้ความรู้สึกเหมือนหลุดเข้าไปอยู่ในดินแดนภารตะ



วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2567

KPI จับมือ The Concert Application เปิดตัวบริการ Ticket Shield คุ้มครองตั๋วคอนเสิร์ต

KPI จับมือ The Concert Application  

เปิดตัวบริการ Ticket Shield คุ้มครองตั๋วคอนเสิร์ต

ไปดูไม่ได้ แต่เคลมได้ อุ่นใจกว่าที่คิด

           จองล่วงหน้าก็ตั้งนาน พอถึงวัน...เป็นอันมีเหตุ! ไม่ได้ไปดูคอนเสิร์ตซะนี่! เมื่ออะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้กับตั๋วคอนเสิร์ตของคุณ วันนี้ไม่ต้องมานั่งเสียดายอีกต่อไป ไม่ต้องทิ้งตั๋ว ทิ้งเงินไปฟรีๆ เพราะ เคพีไอ ร่วมกับ    เดอะ คอนเสิร์ต แอปพลิเคชัน เปิดตัวบริการคุ้มครองตั๋ว “Ticket Shield” แก่ลูกค้าที่ซื้อตั๋วคอนเสิร์ต ตั๋วการแสดงหรือตั๋วอีเวนต์ต่างๆ ผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน The Concert เรียกว่าไปดูไม่ได้ แต่เคลมได้ อุ่นใจกว่าที่คิด กับ “บริการคุ้มครองตั๋วคอนเสิร์ต Ticket Shield” ที่ดูแลได้ทุกเหตุไม่คาดฝัน

            นางสาวสุชาวดี แสงอนงค์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ เคพีไอ ร่วมกับ นายธัญญ์นิธิ ปภัสสุรีย์โชติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะ คอนเสิร์ต แอปพลิเคชัน จำกัด เปิดตัวบริการ Ticket Shield เพื่อมอบความอุ่นใจและความคุ้มครองให้แก่ลูกค้าที่ซื้อตั๋วคอนเสิร์ต ตั๋วการแสดงและตั๋วการอีเวนต์ต่างๆ ล่วงหน้าผ่านเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชัน The Concert  เพื่อคุ้มครองดูแลความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจนทำให้คุณไม่สามารถไปชมคอนเสิร์ตได้ เช่น ให้ความคุ้มครองครอบคลุม ถึงกรณีอุบัติเหตุ เจ็บป่วย การถูกกักกันโรค ติดสอบ ไฟลท์ดีเลย์ การเกิดอัคคีภัย   การถูกโจรกรรมของบ้านและทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัย รวมไปถึงการเกิดภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ ต่างๆ โดยลูกค้าสามารถเคลมประกันภัย เพื่อรับค่าชดเชยได้ก่อนถึงวันคอนเสิร์ตหรือก่อนวันเริ่มการแสดง ตามมูลค่าที่ปรากฏบนหน้าตั๋ว หรือตามที่ได้ชำระค่าตั๋วไปล่วงหน้า โดยไม่รวมค่าธรรมเนียมการใช้บริการผ่านแพลตฟอร์ม ของเดอะคอนเสิร์ตและค่าธรรมเนียมการชำระเงิน และเป็นตามเงื่อนไขความคุ้มครองที่ระบุ  นับเป็นอีกหนึ่งบริการที่ตอบรับกับความต้องการของผู้บริโภคและเหล่าบรรดาแฟนด้อมเป็นอย่างมาก

            เคพีไอ เราอยากเติมเต็มความสุขและดูแลในทุกโมเม้นท์สำคัญของคุณให้อุ่นใจมากที่สุด  

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ KPI Contact Center โทร. 0 2624 1111 หรือคลิก www.kpi.co.th

#กรุงไทยพานิชประกันภัย #KPI #เคพีไอ

#TheConcert # TicketShield




รางวัล “หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก” รางวัลสร้างเสริมคนดีมีคุณธรรม ประจำปี ๒๕๖๗

รางวัล “หม่อมงามจิตต์  บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก”

รางวัลสร้างเสริมคนดีมีคุณธรรม ประจำปี ๒๕๖๗ 

ยกย่องอาจารย์ระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศที่มุ่งพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนิสิต นักศึกษา

         มูลนิธิอนุสรณ์หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดโครงการยกย่องเกียรติคุณอาจารย์ระดับอุดมศึกษาผู้ทรงคุณธรรม ที่มีผลงานดีเด่นในการพัฒนาคุณธรรม และจริยธรรมของนิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษา เข้ารับรางวัล “หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก” รางวัลสร้างเสริมคนดีมีคุณธรรม ตั้งแต่ปี ๒๕๔๓ เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ที่มีศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม มีผลงานดีเด่นในการพัฒนาศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรมของนิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษาให้สาธารณชนทราบ และถือปฏิบัติเป็นแบบอย่าง และเป็นแรงจูงใจให้อาจารย์ในสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ตระหนักถึงความสำคัญของการปลูกฝังสอดแทรกศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรมให้แก่นิสิต นักศึกษา ผู้เป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ 

          โครงการนี้ได้รับผลสำเร็จอย่างดี เป็นผลให้สถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศทั้งของรัฐ และเอกชน ต่างตื่นตัว มีการกระตุ้นจิตสำนึกของอาจารย์ที่จะปลูกฝังศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรมแก่นิสิต นักศึกษา 

  ในปี ๒๕๖๗ มูลนิธิอนุสรณ์หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ในพระราชูปถัมภ์ ฯ จึงได้จัดให้มีการมอบรางวัล “หม่อมงามจิตต์  บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก” อีกครั้งหนึ่ง ในงาน “วันหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก” ครั้งที่ ๓๖ วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๗ ณ หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ 

  รางวัล “หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก” ประกอบด้วยโล่เกียรติคุณประทานจาก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ประธานกิตติมศักดิ์มูลนิธิฯ เข็มเชิดชูเกียรติ และประกาศเกียรติคุณ    ในหนังสือที่ระลึกฯ 

           สำหรับคุณสมบัติของอาจารย์ที่สมควรได้รับการพิจารณา  อาทิ

๑) ได้รับการเสนอชื่อโดยผ่านกระบวนการคัดเลือกที่เหมาะสมจากหน่วยงานต้นสังกัด หรือสถาบันการศึกษา แห่งละ ๑ คน  กรณีที่เสนอชื่อมากกว่า ๑ คน  คณะกรรมการฯ จะพิจารณารายชื่อลำดับแรกเท่านั้น

๒) มีประสบการณ์ในการสอนระดับอุดมศึกษา (ระดับปริญญาตรีขึ้นไป) ไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี

๓) มีศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม และการครองตนถือเป็นแบบอย่างที่ดีได้

๔) มีความรับผิดชอบ และอุทิศตนให้กับงาน

๕) มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้

๖) มีจิตสำนึกในการเสียสละให้กับส่วนรวม ๗๗) มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ในการพัฒนาศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรมของนิสิต นักศึกษา

๘) มีการส่งเสริม สนับสนุน และหรือกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรมอย่างกว้างขวาง

๙) มีผลงานชัดเจนเกี่ยวกับการพัฒนาศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรมของนิสิต นักศึกษาทั้งด้านนโยบาย และนำนโยบายไปปฏิบัติให้สัมฤทธิ์ผล

     จึงขอเชิญสถาบันการศึกษาที่มีการสอนระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศพิจารณาเสนออาจารย์ที่มีผลงานชัดเจนเกี่ยวกับการพัฒนาศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม และการครองตนที่ถือเป็นแบบอย่างที่ดีของนิสิต นักศึกษา ไปยัง    มูลนิธิอนุสรณ์หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ภายในวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๗

ติดต่อสอบถามได้ที่มูลนิธิฯ ไลน์ไอดี ๐๘๐-๔๐๔-๒๔๓๙ โทร. ๐-๒๓๕๔-๗๓๙๑-๒ ต่อ ๑๑๒ หรือ E-mail : princessngarmchit@gmail.com รายละเอียดติดตามได้ที่ Facebook : มูลนิธิอนุสรณ์หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ในพระราชูปถัมภ์ ฯ หรือ  www.princessngarmchit.org 








สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เสด็จพระราชทานเข็ม “พุ่มเพชร

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เสด็จพระราชทานเข็ม “พุ่มเพชร”  สัญลักษณ์ของมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพร...