วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

รพ.หัวใจกรุงเทพ คว้ารางวัลรางวัล ELSO Award of Excellence in Extracorporeal Life Support เทคโนโลยีเครื่อง ECMO ช่วย ‘ชีวิ

รพ.หัวใจกรุงเทพ คว้ารางวัลรางวัล ELSO Award of Excellence in Extracorporeal Life Support เทคโนโลยีเครื่อง ECMO ช่วย ‘ชีวิต’

         ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันมีการพัฒนาเพิ่มศักยภาพในการทำงานทำให้การรักษาผู้ป่วยในภาวะวิกฤต มีโอกาสรอดชีวิตรวมถึงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

         ในสภาวะฉุกเฉิน เทคโนโลยีทางการแพทย์มักถูกนำมาใช้กับผู้ป่วยอย่างทันท่วงที เพื่อแข่งกับนาทีชีวิต ของหนึ่งในนั้น คือ เครื่องเอคโม่ (ECMO) หรือที่หลายคนเรียกว่า “ปอดเทียม หรือหัวใจเทียม” จากการนำเครื่องเอคโม่มาใช้ในการปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างรอบด้าน ทำให้โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ได้รับรางวัล ELSO Award of Excellence in Extracorporeal Life Support ในปี 2022 ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับทีมเอคโม่ จากสถาบันที่มี ECMO service ทั่วโลก โดยพิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ในการแลผู้ป่วยด้านต่างๆ ซึ่งมีทั้งหมด 7 ด้าน ด้วยกัน โรงพยาบาลส่วนใหญ่จะอยู่ในทวีปอเมริกาและยุโรป 

       นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก ผู้ช่วยผู้อำนวยการ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ  กล่าวว่า เครื่องเอคโม่ ECMO (Extracorporeal Membrane Oxygenation) เป็นเครื่องที่ใช้พยุงปอดและหัวใจ ด้วยการดึงเลือดออกจากตัวผู้ป่วยแล้วนำมาฟอกผ่านเครื่องโดยจะมีการควบคุมอุณหภูมิและออกซิเจน ซึ่งตัวเครื่องจะทำหน้าที่คล้ายกับปั๊มน้ำส่งคืนเลือดกลับเข้าไปในร่างกาย สามารถทำงานทดแทนปอดและหัวใจได้ ในกรณีที่ปอดและหัวใจไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

“หลักการทำงานของเครื่องจะดึงเลือดออกจากตัวคนไข้ ด้วยการใส่ท่อพลาสติกที่มีขนาดใหญ่เท่าหัวแม่มือผ่านหลอดเลือดตามแขน คอ หรือขา ในบางกรณีอาจใส่ตรงเข้าไปในหัวใจก็ได้โดยการเปิดหน้าอกเข้าไป แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะใส่จากที่ขาหนีบขึ้นไปถึงหัวใจ ซึ่งการใส่จะต้องไม่ทำอันตรายกับหลอดเลือดและไม่ไปทะลุเข้าหัวใจ”ท่อที่ใส่นี้จะใส่อย่างน้อย 2 ท่อ ท่อหนึ่งจะเป็นการเอาเลือดออกจากร่างกาย ส่วนอีกท่อหนึ่งจะเอาเลือดกลับเข้าร่างกาย เมื่อเอาเลือดออกจากร่างกายเข้ามาในตัวเครื่องแล้ว ตัวเครื่องจะเติมออกซิเจนแล้วมีการปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม ในการปรับอุณหภูมิ อย่างในกรณีที่คนไข้มีไข้ หรือในกรณีที่คนไข้หัวใจหยุดเต้นมาเป็นเวลานาน ต้องการให้อุณหภูมิในร่างกายต่ำเพื่อที่จะรักษาเซลล์ในสมอง ก็จะใช้การควบคุมอุณหภูมิจากตัวเครื่อง ส่วนการเติมออกซิเจน ในบางกรณีเจอคนไข้โรคปอดที่ทำให้ปอดไม่ยอมทำงาน เช่น การติดเชื้อโควิด-19 โดยคนไข้โควิด-19 บางส่วน มีเชื้อโรคเข้าไปทำลายปอดทำให้ปอดหยุดทำงานไปชั่วขณะหนึ่ง อาจจะเป็นอาทิตย์ๆ การใช้เครื่องตัวนี้ก็จะช่วยได้ โดยมีการเติมออกซิเจนเข้าไปทดแทนปอด ก็คือ ดึงเอาเลือดออกมาแล้วเติมออกซิเจนข้างนอกด้วยการผ่านตัวปั๊มแล้วส่งกลับคืนเข้าสู่ร่างกายอีกทีหนึ่ง ซึ่งจะพบได้ในคนไข้โรคปอด ไม่ว่าจะเป็นปอดติดเชื้อ ปอดเกิดการอักเสบจากสาเหตุต่างๆ ก็สามารถใช้เครื่องตัวนี้ช่วยชีวิตคนไข้ได้เมื่อเติมออกซิเจนเสร็จก็ต้องผ่านตัวปั๊ม โดยตัวปั๊มจะมีหน้าตาเหมือนกรวยจะทำการปั่นเลือดแล้วคืนกลับเข้าสู่ร่างกายคนไข้ ซึ่งตัวปั๊มนี้สามารถใช้ทดแทนการทำงานของหัวใจได้ ฉะนั้นในกรณีหัวใจไม่ยอมเต้น เช่น หัวใจวาย หรือคนไข้ที่หลอดเลือดหัวใจตีบที่ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายแล้วไม่ยอมทำงาน ก็สามารถใช้เครื่องมือนี้ทดแทนการทำงานของหัวใจได้เช่นกัน “ในระหว่างที่นำคนไข้มาปั๊มหัวใจ หรือสวนหัวใจ รวมทั้ง ทำการรักษา เตรียมการผ่าตัด สามารถใช้เครื่องมือนี้ซื้อเวลาให้คนไข้มีความดันอยู่ในหลอดเลือดในปริมาณที่พอจะเลี้ยงสมองและอวัยวะต่างๆ ได้ก่อน” สำหรับประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องนี้ว่า “หากไส้กรอง หรือ Membrane นี้มีการทำงานที่ยืนยาวมากขึ้น จะสามารถใช้ทดแทนปอดในคนไข้ที่มีความจำเป็นที่จะใช้ปอดเทียมในระยะยาวๆ ได้ เช่น โรคถุงลมโป่งพองชนิดที่ว่าไม่สามารถฟื้นตัวได้ด้วยตัวเอง หรือปอดเป็นพังผืดชนิดที่ไม่กลับมาแล้ว บางรายต้องอาศัยการผ่าตัดเปลี่ยนปอดแต่ก็หาผู้บริจาคได้ยาก ซึ่งถ้าท่อตัวนี้สามารถใช้ได้ยาวนานขึ้น หลายๆ เดือน หรือเป็นปี ก็จะช่วยในการรักษาผู้ป่วยได้”  

          โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ เป็นหนึ่งในโรงพยาบาลที่มีปริมาณของบุคลากรที่จะเข้ามาร่วมดูแลคนไข้ที่มีความซับซ้อนค่อนข้างมาก และมีความพร้อมเพรียงกันทุกแผนก ทั้งสาขาที่หายากในหลายๆ สาขา บางครั้งเจอปัญหายากในคนไข้บางราย แต่ได้ที่ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเรื่องนั้นมาช่วยดูแลก็ทำให้ผ่านพ้นปัญหายากๆ ไปได้  

การนำเครื่องเอคโม่มาใช้ในการปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ป่วยโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ได้รับรางวัล ELSO Award of Excellence in Extracorporeal Life Support ในปี 2022 ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับทีมเอคโม่ จากสถาบันที่มี ECMO service ทั่วโลก ซึ่งมี 7 ด้าน เริ่มจาก Systems Focus คือ ลักษณะของศูนย์บริการ การดูแลคนไข้ จัดระบบเป็นอย่างไร มีจำนวนบุคลากรจำนวนเพียงพอหรือไม่ ด้าน Environmental Focus เรื่องของจำนวนห้องไอซียู อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ด้าน Workforce Focus จะเป็นเรื่องของจำนวนบุคลากร 

          ด้าน Knowledge Management เรื่องของการแลกเปลี่ยนความรู้ในโรงพยาบาล การแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างแพทย์และบุคลากรต่างๆ เช่น มีการประชุม มีการปรึกษาหารือกันอย่างต่อเนื่อง  

      ด้าน Quality Focus จะเป็นเรื่องผลสัมฤทธิ์ในการดูแลคนไข้  มีการลงข้อมูลว่าคนไข้รายนี้ใส่เครื่องเอคโม่เมื่อไร การใส่เป็นอย่างไร รวมทั้ง มีการลงฐานข้อมูล ซึ่งฐานข้อมูลนี้จะต้องเอาผลไปเทียบกับผลของ ECMO service อื่นๆ ทั่วโลกด้วย เพื่อจะเป็นส่วนหนึ่งในคะแนนที่จะนำมาพิจารณา 

            ด้าน Process Optimization ดูว่าการทำงานของทีมสอดคล้องกับคำแนะนำที่ให้มาหรือไม่ โดยทางการแพทย์จะมีงานวิจัยออกมาใหม่ๆ ทุกปี ทางทีมเอคโม่ของเราก็เอาความรู้พวกนี้มาปรับการทำงานของทีม ไม่ใช่ว่า 5 ปีก่อนทำอย่างไรปัจจุบันก็ทำอย่างเดิม แต่จะต้องมีการปรับปรุงเป็นระยะๆ 

         สุดท้าย Patient & Family Focus ไม่ใช่ดูแลแต่คนไข้แต่ต้องดูแลไปถึงครอบครัวของคนไข้ด้วย บางครั้งต้องมีการเอานักจิตวิทยา จิตแพทย์เข้ามาอยู่ในทีม ในบางเคส เพื่อที่จะให้แน่ใจว่าทั้งตัวผู้ป่วยและญาติสามารถร่วมไปกับการรักษาของทางทีมแพทย์ได้ โดยจะต้องมองภาพใหญ่ ภาพรวมทั้งหมด  

             รพ.ที่ได้รับรางวัลส่วนใหญ่จะอยู่ในทวีปอเมริกาและยุโรป เช่น Mayo Clinic Rochester, Oregon Health & Science University, The Royal Brompton Hospital, University of Pittsburgh Medical Center, Boston Children's Hospital, Cleveland Clinic, Duke University Hospital, Massachusetts General Hospital, Northwestern Memorial Hospital, Stanford Hospital and Clinics, The University of Chicago Medical Center

            ในแถบเอเชียตะวันออก โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ นับเป็นแห่งที่ 3 ถัดจาก National Taiwan University Hospital และ Chonnam National University Hospital ที่ได้รางวัลนี้ 

         ภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น "หัวใจ" นับเป็นอวัยวะหนึ่งที่เกิดภาวะวิกฤตขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่เลือกสถานที่ ยิ่งในสภาวการณ์ปัจจุบันของประชากรในประเทศไทย ที่มีคนก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยมากขึ้น จึงทำให้มีสัดส่วนของคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นเงาตามตัว ตามสัดส่วนแล้วผู้ชายจะเริ่มเป็นโรคหัวใจได้เร็วกว่าผู้หญิง โดยจะเริ่มตั้งแต่อายุ 40 ปี ขึ้นไป ในขณะที่ ด้วยสรีระ ฮอร์โมน กายภาพของผู้หญิงทำให้ปกป้องร่างกายของผู้หญิงได้ดีกว่า จึงทำให้ผู้หญิงกว่าจะเริ่มเป็นโรคหัวใจจริงๆ จะเห็นได้ในวัย 60 ปีขึ้นไป  

      “ในปัจจุบันการทำงานมีความเครียดมากขึ้น มีการแข่งขันกันสูง รวมทั้ง อาหารการกินที่หันเหไปรับประทานเลียนแบบชาติทางตะวันตกมากขึ้น ทำให้ร่างกายมีไขมันเพิ่มขึ้น อีกทั้ง การกินดีอยู่ดีของประชากรไทยในบางส่วนที่พอทำงานหนักก็อยากจะรับประทานมากขึ้นซึ่งมีผลต่อหลอดเลือดและหัวใจ ทำให้ทุกวันนี้เราเห็นคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น”

         เด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 15 ปี โรคหัวใจที่พบจะเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด ซึ่งหลีกเลี่ยงและแก้ไขไม่ได้ โดยในเด็กเกิดใหม่ 100 คน จะมี 0.5-1 % ที่มีความผิดปกติของหัวใจโดยกำเนิดในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ปัจจุบันเด็กเกิดน้อยลงอัตราการเกิดของโรคก็น้อยลงไปด้วยตรงกับข้ามกับผู้ใหญ่ที่มีอายุเฉลี่ยสูงขึ้นตามวัยก็จะพบการอุบัติของโรคหัวใจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  

      ส่วนประชากรไทยที่มีอายุ 15- 40 ปี วัยกลางๆ จะเจอโรคลิ้นหัวใจรูมาติกค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นธรรมดาของประเทศกำลังพัฒนาที่จะเจอกับปัญหานี้ด้วยกันทั้งนั้น โดยโรคลิ้นหัวใจรูมาติกเกิดจากการรับยาฆ่าเชื้อที่ไม่เพียงพอ มีการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดทำให้มีปฏิกิริยาต่อร่างกาย ต่อลิ้นหัวใจ ซึ่งการเกิดของโรคจะใช้เวลาเป็นสิบๆ ปี และมักจะแสดงอาการในช่วงอายุ 30-40 ปี ก็เลยทำให้ลิ้นหัวใจเสียหายจนกระทั่งใช้งานไม่ได้ หากเป็นมากก็ต้องเปลี่ยนลิ้นหัวใจ โดยในแต่ละปีทั่วประเทศไทยจะมีผู้ป่วยเปลี่ยนลิ้นหัวใจประมาณ 3-4 พันคน  

        ส่วนในวัย 50 ปีขึ้นไป จะไปเน้นหนักที่ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ด้วยอายุที่มากขึ้น ร่วมกับ การสูบบุหรี่ หรือมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน มีประวัติไขมันสูง มีประวัติหลอดเลือดเสื่อม ก็จะส่งผลทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบ พอหลอดเลือดหัวใจตีบเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้ กล้ามเนื้อหัวใจก็ตาย ถ้าไปตีบในตำแหน่งที่สำคัญมากๆ เป็นทางหลัก ก็จะไม่มีเลือดไปเลี้ยงหัวใจทั้งแถบ คนไข้ก็จะเสียชีวิตทันที รวมทั้ง ความเสื่อมของร่างกาย หากไม่เป็นโรคของลิ้นหัวใจตีบในช่วงนี้ก็จะไปเป็นในวัย 70-80 ปี สืบเนื่องมาจากความเสื่อมของร่างกาย โดย 2-3% ของประชากรวัย 70 ปีขึ้นไป จะเป็นโรคนี้  

              โรคหัวใจในผู้ใหญ่ที่เจอบ่อยจะมีปัจจัยมาจาก การเสื่อมของหลอดเลือด ซึ่งมีสาเหตุหลักๆ คือ จากความดันโลหิตสูงนานๆ ซึ่งการที่ความดันสูงบ่อยครั้งเกิดจากการรับประทานอาหารเค็มหรือหวาน หรือปล่อยให้ร่างกายมีไขมันสูงนานๆ พนังหลอดเลือดจะแข็งและทำให้ความดันสูง หรือในคนที่เป็นเบาหวานแล้วไม่ควบคุมน้ำตาลให้ดี ก็จะทำให้เกิดการเสื่อมของหลอดเลือดได้เร็ว  

       การที่หลอดเลือดเสื่อมนั้น จะไม่ได้เสื่อมแค่หัวใจ แต่จะเสื่อมทั้งร่างกาย เพียงแต่ว่าเวลาแสดงออกมาจะแสดงออกมาที่อวัยวะสำคัญๆ ก่อน เช่น หัวใจ ไต สมอง เราจึงเห็นบางคนนั่งกินข้าวอยู่ดีๆ ล้มฟุบไปเลย หมดสติ หัวใจวาย แน่นอนว่าส่วนหนึ่งมาจากหลอดเลือดหัวใจอุดตันกะทันหัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือว่าเสียชีวิตโดยที่ยังไม่ทันได้มาที่โรงพยาบาล เพราะไม่เคยตรวจร่างกายมาก่อนจึงไม่รู้ว่าเกิดการเสื่อมของหลอดเลือด 

          อาการเบื้องต้นของโรคหัวใจ คือ การเหนื่อยง่าย สามารถสังเกตตัวเองได้เช่น การขึ้นบันได 3 ชั้น เมื่อก่อนขึ้นสบายๆ โดยไม่ต้องหยุดพัก แต่วันนี้เดินแค่ชั้นเดียวก็ต้องยืนหอบแล้ว  หากมีอาการอย่างนี้ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย สำหรับการดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรคหัวใจ สามารถทำได้โดย ในส่วนของการรับประทาน ไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง หรือใส่น้ำมันเยอะ หลีกเลี่ยงของทอด อาหารเค็ม ใครที่ชอบใส่พริก ใส่โซเดียมเยอะๆ 2-3 ช้อน ต้องลดปริมาณการใส่ให้น้อยลง แล้วหันไปรับประทานอาหารที่มีรสชาติจืด ถ้าเปลี่ยนได้จะเป็นเรื่องที่ดีต่อหัวใจ  

         คนที่เป็นเบาหวานจะต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี หลีกเลี่ยงการกินแป้ง การกินน้ำตาลมากๆ  ใน 1 มื้อ ต้องลดปริมาณลง โดยเฉลี่ยๆ ให้เท่าๆ กันในทุกมื้อ น้ำตาลจะได้ไม่สูง

          รวมทั้ง มีการออกกำลังกาย ครั้งละครึ่งชั่วโมง อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงอยู่ตลอด โดยจะต้องพิจารณาในเรื่องของวัยและสภาพร่างกายของแต่ละคน เช่น ในคนที่น้ำหนักตัวมากจะให้ไปวิ่งก็คงไม่ไหว จะต้องทำกิจกรรมที่ไม่ลงน้ำหนักในข้อเข่า เพื่อหลีกเลี่ยงการเสื่อมของข้อเข่า แนะนำให้ว่ายน้ำหรือปั่นจักรยานก็จะช่วยได้ หากไม่ถนัดให้หันไปเดินเร็ว โดยเริ่มจากการเดินธรรมดาก่อนไปจนถึงเดินเร็ว พร้อมกับการควบคุมปริมาณอาหารไปด้วย ตลอดจน ทำจิตใจให้แจ่มใส หลีกเลี่ยงหรือลดความเครียดให้น้อยลง เพราะการทำงานหนัก เครียดมากๆ ส่งผลให้มีความดันโลหิตสูงอยู่บ่อยๆ ซึ่งจะส่งผลต่อหัวใจ ควรหาวิธีคลายเครียดมาใช้ ซึ่งแต่ละคนจะเลือกวิธีคลายเครียดที่แตกต่างกันไป อย่าง เล่นกีฬา บางคนนั่งสมาธิ บางคนชอบดูหนัง ดูละคร ลองเลือกหามุมที่ตนเองทำแล้วรู้สึกสบายที่สุด เพื่อจะได้เป็นการบาลานซ์ชีวิตให้เกิดความพอดี

             ทางด้านแผนการรักษาโรคหัวใจให้กับผู้ป่วย หากสุดทางแล้วรักษากันไม่ได้จริงๆ วิวัฒนาการทางการแพทย์ในปัจจุบันก็ยังมีอีกขั้นหนึ่ง คือ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ การใส่หัวใจเทียมที่ทดแทนหัวใจจริง โดยมีหลักการทำงานคล้ายกับเครื่องเอคโม่เพียงแต่ว่าจะย่อส่วนของเครื่องเข้าไปอยู่ในร่างกายของคน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือผู้ป่วย ยิ่งถ้าผู้ใช้มีความชำนาญ ใช้ได้อย่างเหมาะสม ถูกเวลา ยิ่งเพิ่มโอกาสรอด ช่วยกู้คืนชีวิตให้กลับคืนมาได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ รพ.หัวใจกรุงเทพ โทร. 080-1919019 Contact Center โทร. 1719  หรือ Heart Care LINE Official : @hearthospital

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

“จุรินทร์” รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เปิดงาน The Marché by STYLE Bangkok 2022 งานแสดงสินค้า BCG ไทยโดนใจตลาดโลก

“จุรินทร์” รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เปิดงาน The Marché by STYLE Bangkok 2022 งานแสดงสินค้า BCG ไทยโดนใจตลาดโลก

              นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงานแสดงสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่นไทย The Marché by STYLE Bangkok 2022 อวดสินค้า BCG (Bio-Circular-Green) และสินค้ารักษ์โลกจากผู้ผลิต/ผู้ส่งออกไทยที่สอดรับเมกะเทรนด์โลก ปลื้มสินค้าไลฟ์สไตล์ไทยปี 64 และสินค้าแฟชั่นไทย โดยมี นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ พร้อมด้วยผู้บริหารกรมฯ ตลอดจนสมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทย และกลุ่มเซ็นทรัลเข้าร่วมงานอย่างพร้อมเพรียงณ ลาน Central Court ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 20พฤษภาคม 2565

                                                                                                                                                                            

            นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การที่ประเทศไทยสามารถผ่านวิกฤติโควิด-19 และผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองในช่วงกว่าสองปีนี้มาได้ ส่วนหนึ่งเกิดจากการตั้งเป้าหมาย และใช้ยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนของ กระทรวงพาณิชย์ ตามนโยบาย “ตลาดนำการผลิต” เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ พร้อมๆ กับการเพิ่ม GDP ให้กับประเทศ และการเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการในทุกระดับ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และนโยบายที่กระทรวงฯ ตั้งไว้ ส่งผลให้ภาพรวมด้านเศรษฐกิจการส่งออกในปีที่ผ่านมา โตกว่าร้อยละ 17.1  จากที่ตั้งเป้าไว้ร้อยละ 4 หรือเกินเป้ากว่า 4 เท่า นำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวน 8.5 ล้านล้านบาท โดยกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่นมีมูลค่า 385,459 ล้านบาท ขยายตัวถึงร้อยละ 18.66 และจากการผลักดันเชิงรุกส่งผลให้ไตรมาสแรกของปี 65    มีมูลค่า 109,597 ล้านบาท ขยายตัวถึงร้อยละ 25.98

                                                                                                                                                                            แนวทางการดำเนินงานดังกล่าว เป็นการผสานความแข็งแรงของ นโยบายส่งออกเชิงรุก ซึ่ง “รัฐหนุนเอกชนนำ” ให้เอกชนเป็นทัพหน้า ในขณะที่รัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์เป็นกองหลังสนับสนุนอย่างเต็มที่

     นอกจากนี้ยังมี คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านการพาณิชย์ หรือ กรอ. พาณิชย์ เป็นเวทีให้หน่วยราชการกระทรวงพาณิชย์กับภาคเอกชนทุกสาขาทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก ประชุมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเสนอแนะวิธีแก้ปัญหาและอุปสรรคด้านการส่งออก

                                                                                                                                                                                       ในปี 2565 นี้ กระทรวงฯ ได้ตั้งเป้าส่งออกไว้ 9 ล้านล้านบาท ซึ่งใน 3 เดือนแรกที่ผ่านมาก็สามารถทำยอดได้แล้วถึง 2.4 ล้านล้านบาท ด้วยนโยบาย 2 ข้อผสมผสาน นั่นคือ นโยบายเชิงรุก หรือ Proactive Trade Policy และเชิงลึก หรือ ln-Depth Policy ทั้งนี้ จะมีการเร่งทำแผนรุกและลึกใหม่ ผลักดันการส่งออกต่อไปให้เข้มข้นยิ่งขึ้น 

            การจัดงาน The Marché by STYLE Bangkok ในครั้งนี้ นับเป็นการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่ตอบสนอง Megatrend ของโลก ในเรื่องของเศรษฐกิจชีวภาพหรือ BCG (Bio-Circular-Green Economy) ซึ่งจะทำหน้าที่ส่งเสริมและผลักดันสินค้าและบริการไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่น อันเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย 

                สินค้าไลฟ์สไตล์ไทย ในปี 2564 มีการขยายตัวถึงร้อยละ 22.28 คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.1 แสนล้านบาท ในขณะที่สินค้าแฟชั่นไทยเติบโตถึงร้อยละ 14.92 คิดเป็นมูลค่ากว่า 2.8 แสนล้านบาท เนื่องจากได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ทั้งความโดดเด่นในด้านดีไซน์ ความมีเอกลักษณ์ และคุณภาพ บวกกับแผนงานของกระทรวงพาณิชย์ที่ครอบคลุมหลากหลายมิติ รวมถึงการเร่งรัดการส่งออกยุค New Normal ทำให้มั่นใจได้ว่า ภาพรวมการส่งออกสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่นตลอดปี 2565 จะเติบโตเพิ่มขึ้นได้ถึงร้อยละ 7.5 อย่างแน่นอน

                                                                                                                                                                                นอกจากนี้ภายในงานยังมีการช่วยเหลือผู้ประกอบการกลุ่ม SME ด้วยการเพิ่มช่องทางจัดจำหน่ายหลัง New Normal โดยมีจำนวน 190 คู่เจรจา จาก 21 ประเทศ ประมาณการคาดการณ์มูลค่าเจรจา 70 ล้านบาท และมีผู้ซื้อเดินทางมาชมงานจากหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรีย เป็นต้น

                                                                                                                                                                                   

          The Marché by STYLE Bangkok 2022 จัดแสดงสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่นในกลุ่มแฟชั่นเสื้อผ้าและเครื่องหนัง เฟอร์นิเจอร์ ของขวัญของชำร่วย เครื่องใช้ภายในบ้าน เครื่องตกแต่งบ้าน และสินค้า Wellness พร้อมกิจกรรมโปรโมชั่นสำหรับผู้ซื้อ โดยมีมาตรการการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ทุกวันถึง 22 พฤษภาคม 2565 นี้

               ผู้สนใจสามารถเข้าชมงานแสดงสินค้าที่เซ็นทรัลเวิลด์ หรือชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.stylebangkokfair.com Facebook และ Instagram Style Bangkok Fair หรือโทรสายตรงการค้าระหว่างประเทศ 1169


                                                                                                                


วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

3 สมาคมจุฬาฯ ผนึก กกร. จัดเสวนาระดับชาติ "Better Thailand Open Dialogue" ถามมา-ตอบไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม” ครั้งแรกในประเทศไทย

3 สมาคมจุฬาฯ ผนึก กกร. จัดเสวนาระดับชาติ  "Better Thailand Open Dialogue" ถามมา-ตอบไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม” ครั้งแรกใน

ประเทศไทย

                สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมนิสิตเก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมนิสิตเก่าเศรษฐศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับมือ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ สมาคมธนาคารไทย จัดงานเสวนา “Better Thailand Open Dialogue ถามมา-ตอบไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม” หรือเรียกสั้นๆ ว่า งาน เบตเตอร์ ไทยแลนด์ฯ” เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเชิงสร้างสรรค์ครั้งในประเทศไทย ร่วมกับ BRANDi and Companies และหลักสูตร Innovative Engineering for Sustainability ระหว่างวันที่ 19-20 พฤษภาคม 2565 พร้อมไลฟ์สดผ่านช่องทางยูทูบ BetterThailand2022 โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม" โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาประเทศให้ดีกว่าเดิม และนำไปสู่การผลักดันให้เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเตรียมความพร้อมประเทศไทยสำหรับโลกหลังโควิด-19 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2565

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมในเวที Better Stage เวทีสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม เพื่อจุดประกายแนวคิดและสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ และเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์ประเทศไทยที่ดีกว่าร่วมกัน และการจัดนิทรรศการ Better Thailand ในด้านต่างๆ จากภาครัฐ รวมทั้งบูทภาคเอกชนและ Startup ภายใต้โมเดลธุรกิจ BCG กว่า 30 หน่วยงานและบริษัท โดยประชาชนผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมในเวที Better Stage และชมนิทรรศการตลอดสองวันฟรี ณ ชั้น 5 รอยัล พารากอน ฮอลล์ สยามพารากอน

นายศักดิ์ชัย ยอดวานิช นายกสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การจัดเสวนา เบตเตอร์ ไทยแลนด์ฯ” ในครั้งนี้ นับเป็นความร่วมมือระดับประเทศครั้งแรกในไทย ระหว่างภาคการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสังคม ในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเชิงสร้างสรรค์ เพื่อค้นหาคำตอบที่ชัดเจนในประเด็นหลัก 5 ส่วนสำหรับคนไทยทุกคน ได้แก่ 1. ภาพรวมของประเทศไทย 2. เศรษฐกิจ 3. สังคม 4. สิ่งแวดล้อม 5. คุณภาพชีวิต รวมกว่า 50 ประเด็น โดยมี 35 ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายและทิศทางของประเทศจากภาคการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสังคม ร่วมเสวนา

หัวใจหลักของงานเสวนานี้คือ การเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมค้นหาคำตอบกับประเด็นคำถามที่ค้างคาใจ ครอบคลุมตั้งแต่ระดับมหภาคไปจนถึงจุลภาค อาทิ ประเทศไทยหลังสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 จะเป็นอย่างไร เศรษฐกิจจะดีขึ้นหรือไม่ การวางโครงสร้างพื้นฐานให้แข็งแกร่ง การวางแนวทางเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับประเทศในการแข่งขันในเวทีโลก การแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะและหนี้ครัวเรือน สินค้าราคาแพง ปัญหาค่าครองชีพ ปัญหาสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว และการผลักดันให้กฎหมายและระบบราชการไทยก้าวทันโลกยุคดิจิทัล เป็นต้น พวกเราทุกคนจะมาร่วมเปลี่ยนความสงสัยให้กลายเป็นความหวังและนำไปสู่ความร่วมมือในการจัดการประเทศอย่างสมดุล ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาประเทศให้ดีกว่าเดิมอย่างเป็นรูปธรรม

วันแรก (19 พฤษภาคม 2565) ของ เบตเตอร์ ไทยแลนด์ฯ ถามมา-ตอบไปกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเต็มสูบ ได้มีการนำเสนอแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ในเวทีเสวนาหัวข้อ มองเศรษฐกิจโลก สะท้อนเศรษฐกิจไทย โดย นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และ ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ รองผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงาน Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกันแลกเปลี่ยนมุมมองความเป็นไปของเศรษฐกิจโลกและผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจหลังโควิด เพื่อร่วมหาแนวทางการแก้ปัญหาและบรรเทาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจระยะสั้นไปจนถึงเศรษฐกิจไทยยุคใหม่ในระยะยาว ตลอดจนเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกหลังโควิด ซึ่งจะเป็นโอกาสสำหรับคนไทยทุกคน

ส่วนในภาคบ่าย นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมเสวนาในหัวข้อ เศรษฐกิจไทยยุคใหม่ ประเทศไทยก้าวต่อไปอย่างไร ช่วงที่ 1” ร่วมกับ นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มล.ชโยทิต กฤดากร ผู้แทนการค้าไทย นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ นายอุกฤษ อุณหเลขกะ Co-Founder & CEO จาก Ricult เกี่ยวกับทิศทางการการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและภาคการเกษตร ควบคู่ไปกับการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยการสนับสนุน เช่น เทคโนโลยีและการพัฒนาในเชิงพื้นที่ที่จำเป็นต่อการเติบโต รองรับทั้งวิกฤตและการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ขณะที่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีเสวนาหัวข้อ เศรษฐกิจไทยยุคใหม่ ประเทศไทยก้าวต่อไปอย่างไร ช่วงที่ 2” ร่วมกับ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และ นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย CEO บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) เพื่อค้นหาแนวทางการสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ผ่านการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาเชิงพื้นที่ เพื่อวางรากฐานที่เข้มแข็งและพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

สำหรับวันที่สอง เบตเตอร์ ไทยแลนด์ฯ” (20 พฤษภาคม 2565) จะเป็นการค้นหาคำตอบในประเด็นสังคม-สิ่งแวดล้อม-คุณภาพชีวิตอย่างเข้มข้น โดยได้รับเกียรติจากนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "สังคมยุคใหม่ กฎหมายทันสมัย ระบบราชการทันโลก แก้คอรัปชั่นทันที" แสดงทรรศนะทางด้านประเด็นสังคมว่า การบริหารจัดการประเทศและสังคมในปัจจุบันกำลังเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง ทุกเรื่องต้องใช้เวลา แต่เราเดินไปข้างหน้าแน่นอน

จากนั้น นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมเสวนาในหัวข้อ สิ่งแวดล้อมยุคใหม่ เติบโตไปพร้อมกับเศรษฐกิจ" ร่วมกับ ศ. ดร. นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เผยถึงการบริหารจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในทุกภาคส่วน การหาโมเดลธุรกิจใหม่เพื่อลดโลกร้อน เพิ่มพลังงานสะอาด เยียวยาระบบนิเวศ โดยมีเป้าหมายในการทำให้เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมเติบโตร่วมกันได้ และบรรลุเป้าหมายในการทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น และพร้อมส่งมอบสิ่งแวดล้อมคุณภาพดีให้คนรุ่นต่อไป

ส่วนในภาคบ่ายมีการเสวนาเกี่ยวกับประเด็นด้านคุณภาพชีวิตอย่างสร้างสรรค์ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นำทีมเสวนาในหัวข้อ คุณภาพชีวิตยุคใหม่ ดูแลทุกวัย ยกระดับสวัสดิการ” กับการแก้ไขปัญหาพื้นฐานในการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ว่าจะเป็นด้านสาธารณสุข การศึกษา รวมถึงการบริหารจัดการบริการและสวัสดิการภาครัฐ เพื่อให้ครอบคลุมความต้องการ ทุกเพศ ทุกวัย อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง โดยมี นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ นางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ร่วมเสวนา

และปืดท้ายด้วย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมเสวนาในหัวข้อ คุณภาพชีวิตยุคใหม่ ลดความเหลื่อมล้ำ ให้โอกาสทุกคน” ให้แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการให้คนไทยทุกคนได้เข้าถึงงานที่มีคุณภาพ มีทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาหนี้สิน จนนำไปสู่การกำจัดความยากจนอย่างยั่งยืน

สำหรับผู้สนใจสามารถรับชมเสวนา เบตเตอร์ ไทยแลนด์ฯ” บนเวทีหลักได้ในวันที่ 19 – 20 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00-16:30 น. ทางช่องยูทูบ BetterThailand2022 (ลิงก์ https://gowatch.live/BetterThailand2022) เปิดเวที Better Stage เพื่อคนรุ่นใหม่ พร้อมนิทรรศการโชว์ผลงานภายใต้แนวคิด Better Thailand

นอกจากการเสวนาบนเวทีหลักแล้ว ภายในงานยังมีการจัดกิจกรรมบนเวที Better Stage เวทีสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม โดยมีวิทยากรในหลากหลายแขนง มาแชร์ความรู้และประสบการณ์สร้างสรรค์ประเทศไทยที่ดีกว่า ในด้านอาหาร สิ่งแวดล้อม วัสดุ ดนตรี และเศรษฐกิจ เพื่อจุดประกายแนวคิดและแรงบันดาลใจใหม่ ๆ ในการเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างประเทศไทยที่ดีกว่า ให้กับคนรุ่นใหม่ ผ่านการเสวนาและกิจกรรมที่น่าสนใจต่างๆ ได้แก่

การพูดคุยกับ โตโน่ ภาคิน” ทูตแห่งมหาสมุทรเพื่อความยั่งยืนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในหัวข้อ "ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ ทำอย่างไรให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน

ร่วมสนุกกับเวิร์กชอปการทำอาหาร โดย เชฟชุมพล เพื่อต่อยอดอาหารพื้นถิ่น โดยใช้วัตถุดิบแบบ Plant base

การเสวนาหัวข้อ “Future Materials วัสดุเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน" โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA)

การเสวนาหัวข้อ "Race to Thailand Net Zero คนรุ่นใหม่ช่วยขับเคลื่อนได้อย่างไร" โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) 

เสวนาหัวข้อ "BCG อนาคตสำหรับคนรุ่นใหม่" โดย McKinsey ตัวแทนภาคเอกชน และ Startup

การเสวนาหัวข้อ "Restart Engineering นิยามวิศวกรรมศาสตร์ในโลกยุคใหม่" โดยสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การเสวนาหัวข้อ "Restart Business นิยามธุรกิจในโลกใบใหม่" โดย สมาคมนิสิตเก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การแสดง Thai Fighting Spirit โดย depa รวมทั้งการแสดงนาฏศิลป์ไทยร่วมสมัยของกลุ่มศิลปิน

"คิดบวกสิปป์" และการแสดงดนตรีแนว Asian Pop จากกลุ่มศิลปิน "Asia 7"

พร้อมชมนิทรรศการ “Better Thailand” ที่ได้รวบรวมผลงานสำคัญและโดดเด่นของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนกว่า 30 หน่วยงานมาจัดแสดง รวม 5 โซน ได้แก่ 1. โซนสถาบันการเงิน เสนอมาตรการช่วยเหลือประชาชนด้านการเงิน พร้อมโปรแกรมสินเชื่อตอบโจทย์รายย่อยและ SME  2. โซนหน่วยงานราชการ นำเสนอผลงานสำคัญเพื่อการพัฒนาอนาคตประเทศไทย 3. โซน BCG จัดแสดงโครงการ BCG และการเกษตรแบบ Smart Farming พร้อมการสาธิต Application แพลตฟอร์มรถ EV  4. โซน Start Up จัดแสดงเรื่องนวัตกรรม Carbon Capture และโครงการลดใช้พลังงานด้วยเทคโนโลยี AI และ IoT รวมทั้งการจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์รีไซเคิลและอัพไซเคิล ที่นำพลาสติกเหลือใช้มาผ่านนวัตกรรมและดีไซน์ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของแบรนด์ต่าง ๆ และ  5. โซน Bio สาธิตการทำอาหารจากผลิตภัณฑ์ Plant Base จัดแสดงบูท Virtual Reality (VR) Game และ Software เกษตรอัจฉริยะ พร้อมจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสำหรับคนรักสุขภาพ

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเยี่ยมชมนิทรรศการ “Better Thailand” และร่วมกิจกรรมในเวที “Better Stage”  ในวันที่ 19 – 20 พฤษภาคม เวลา 10:00 – 16:30 น. ณ ชั้น 5 รอยัล พารากอน ฮอลล์ สยามพารากอน

 

 

วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

The Marché by STYLE Bangkok เปิดวันแรกคึกคัก ขนสินค้าไลฟ์สไตล์ BCG ต้อนรับนักช้อปสายรักษ์โลก

The Marché by STYLE Bangkok  เปิดวันแรกคึกคัก ขนสินค้าไลฟ์สไตล์ BCG ต้อนรับนักช้อปสายรักษ์โลก



                The Marche’ by STYLE Bangkok งานแสดงสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่น จัดโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ภายใต้ธีม Global Trends, your styles นำเสนอสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่นกลุ่ม BCG ที่ดีต่อผู้ใช้ ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม จากผู้ผลิต-ผู้ส่งออกไทยคุณภาพ จัดแสดงกว่า 150 บูธ ให้นักช้อปสายรักษ์โลกทั้งไทยและต่างชาติ เลือกซื้อกันอย่างจุใจ ตั้งแต่วันนี้ ถึง 22 พฤษภาคมนี้ ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์

                ภายในงานรวบรวมเอาสินค้า BCG หรือ Bio-Circular-Green มาจัดแสดงร่วมกันมากที่สุดงานหนึ่ง จัดเต็มบนพื้นที่กว่า 1,200 ตารางเมตร โดยแบ่งเป็น 7 โซนสินค้า สินค้าแฟชั่น เครื่องประดับ กระเป๋า รองเท้า (Fashion & Leather) สินค้าของขวัญ ของชำร่วย ของเล่น (Gifts & Premiums) สินค้าเครื่องครัว เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร (Houseware) สินค้าเฟอร์นิเจอร์ (Furniture) ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและสปา (Wellness) สินค้าของตกแต่งบ้าน (Home Décor) และโซนสินค้ามีดีไซน์โดดเด่น (Design Hall)

นอกจากสินค้าคุณภาพส่งเกรดพรีเมียม ทั้งแบรนด์ไทยดังไกลระดับโลกและแบรนด์น้องใหม่ที่ควรค่าแก่การสนับสนุน ผู้เข้าชมงาน ยังได้เต็มอิ่มกับกิจกรรม Price Off และ Pro Reward โปรโมชั่นส่วนลดจากผู้ประกอบการเมื่อซื้อสินค้าภายในงานอีกด้วย

                

            The Marche’ by STYLE Bangkok จัดถึงวันที่ 22 พฤษภาคมนี้ ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ บริเวณชั้น 1 และชั้น 2 โซน Eden 1-2, Dazzle และ Beacon 2-3 และ 4 เปิดให้เข้าชมระหว่างเวลา 10.00-22.00 น. 

                    ชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.stylebangkokfair.com Facebook และ Instagram Style Bangkok Fair หรือโทรสายตรงการค้าระหว่างประเทศ 1169


                                                                                                                      

ป่อเต็กตึ๊งเป็นตัวแทนผู้มีจิตศรัทธาส่งมอบไออุ่น แจกจ่ายผ้าห่มกันหนาวพร้อมเครื่องอุปโภคบริโภค ให้ชาวเชียงราย ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร

ป่อเต็กตึ๊งเป็นตัวแทนผู้มีจิตศรัทธาส่งมอบไออุ่น แจกจ่ายผ้าห่มกันหนาวพร้อมเครื่องอุปโภคบริโภค ให้ชาวเชียงราย ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร          ...