วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564

การศึกษาวิจัยและพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) เพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการผลิตสื่อ

การศึกษาวิจัยและพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) เพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการผลิตสื่อ

           กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ร่วมกับวิทยาลัยนวัตกรรม ม.ธรรมศาสตร์ และสถานีโทรทัศน์ Thai PBS ดำเนินการศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิจัยและพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี)” ภายใต้โครงการวิจัยการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านสื่อและภาควิชาการ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและจัดทำหลักสูตรการอบรมเบื้องต้นเพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการผลิตสื่อ สำหรับเด็กปฐมวัย ช่วงอายุ 3-6 ปี ที่มีความเหมาะสมกับพัฒนาการเด็กและสถานการณ์ และทดลองผลิต สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่เหมาะกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตลอดจนนำร่องการใช้หลักสูตรการอบรม เบื้องต้นสำหรับพัฒนาศักยภาพคนในการทำงานด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

          นายธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า กองทุนพัฒนาสื่อ ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ดำเนินงานสนับสนุนการพัฒนาสื่อสำหรับเด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งการให้ทุน สนับสนุนและดำเนินงานเอง โดยโครงการดำเนินงานเองจะเป็นการทำงานหนุนเสริมเติมเต็มจากการให้ทุน ดังเช่นโครงการนี้เป็นการผลิตสื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3-6 ปีประเภทรายการโทรทัศน์ตาม แนวทางการวิจัยร่วมกับสหวิชาชีพทั้งภาควิชาการและวิชาชีพ เราร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านเด็กและด้านสื่อ ซึ่งมุ่งมั่นให้เป็นรูปแบบการทำงานเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในการผลิตสื่อสำหรับเด็กปฐมวัยอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ที่ทางวิชาการและการแพทย์ระบุว่าเด็กช่วงอายุดังกล่าวสามารถรับชมผ่านสื่อประเภทจอหรือโทรทัศน์ได้ และนำร่องการอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) ซึ่งเป็นความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาควิชาชีพและภาควิชาการ เพื่อให้ได้ทั้งเนื้อหาและรูปแบบที่เหมาะสมกับการผลิตงานจริง โดยโครงการดังกล่าวนี้ได้ริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2563 และถือว่าประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์จึงได้ดำเนินงานต่อเนื่องมาจนถึงระยะที่ 2 ในปี 2564 นี้ด้วยเช่นกัน

       อาจารย์ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์ อาจารย์ประจำ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิจัยผู้รับผิดชอบการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ระบุว่า จากการ ศึกษาวิจัยที่ผ่านมาในปี 2563 ทำให้ได้แนวทางหลักสูตรการอบรมเบื้องต้นเพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการผลิตสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 3-6 ปี โดยมีการนำร่องจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อสร้างองค์ความรู้และความ เข้าใจการผลิตสื่อต้นแบบสำหรับเด็กปฐมวัย ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้ (D) ชั้น 3 สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัยเป็นวิทยากรเพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้องค์ความรู้อย่างเข้มข้น โดยเฉพาะด้านเนื้อหา (Content) ที่ควรมุ่งสื่อสารเพื่อส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย ไม่ว่าจะเป็น รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) และกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น, ธิดา พิทักษ์สินสุข กรรมการบริหารสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทย, ดร.แพง ชินพงศ์ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีเพื่อเด็กปฐมวัย และศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทั้งนี้จากการศึกษาทำให้ได้องค์ความรู้ในการผลิตสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย ช่วงอายุ 3-6 ปี ดังนี้ ด้านเนื้อหา (Content) ควรมุ่งสื่อสารเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย จากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ระดมความรู้ในการผลิตรายการเพื่อเด็ก ปฐมวัย อายุ 3-6 ปี จากผู้ทรงคุณวุฒิด้านเด็กปฐมวัย ได้แก่ กุมารแพทย์ นักวิจัยและนักการศึกษาด้านเด็ก ผู้ผลิตสื่อเพื่อเด็กปฐมวัย และนักวิชาการด้านการผลิตสื่อเด็ก รวม 10 ท่าน ดังต่อไปนี้ 

รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) และกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น 

ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษใจฐกร จากสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริม EF และวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัย

ธิดา พิทักษ์สินสุข (ครูหวาน) กรรมการบริหารสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัย 

ดร.สมสุดา มัธยมจันทร์ อาจารย์ประจำ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร) 

ผศ.ดร. มรรยาท อัครจันทโชติ อาจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

ผศ.ดร. กันตวรรณ มีสมสาร อาจารย์ประจำ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 

ครูชีวัน วิสาสะ ( ครูชีวัน) นักเขียน-นักวาดภาพประกอบนิทานเด็ก ที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับ

ภัทรจารีย์ อัยศิริ (น้านิด สโมสรผึ้งน้อย) ผู้ผลิตรายการเด็ก ที่มประสบการณ์มามากกว่า 40 ปี

วิไลภรณ์ จงกลวัฒนา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักรายการ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (Thai PBS) 

วรินทร์เนตร เติมศิริกมล ผู้ผลิตรายการเด็กและสร้างภาพยนตร์สำหรับครอบครัว 

         โดยในการสนทนาดังกล่าวได้ร่วม สะท้อนเนื้อหา (Content) ที่ควรมุ่งสื่อสารเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ดังต่อไปนี้

1. กระตุ้นจินตนาการ และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

2. พัฒนาทักษะทางสังคม (Social Skills)

3. นำเสนอเนื้อหาที่สะท้อนและเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของเด็กๆได้

4. ส่งเสริมการเข้าใจและภูมิใจในความเป็นตัวเอง (Self-Extreme)

5. สอดแทรกบริบทแวดล้อมให้เหมาะสมกับสังคมไทย

         นอกจากนี้ทำให้ได้ข้อสรุปจากการศึกษาด้านการนำเสนอสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย ต้องคำนึงถึงสิ่งที่ควรและไม่ควรทำ (Do and Don’t)  ดังนี้

         สิ่งที่ควรทำ (DO)

1. สื่อสารประเด็นใจความสำคัญเพียงประเด็นเดียวและต้องไม่ยาวจนไป (ความยาวที่เหมาะสมคือ 2-10 นาที โดยจำนวนนาทีที่แนะนำที่เหมาะสมอาจจะคำนวณจากอายุได้คราวๆ เช่น 3 ขวบไม่ควรเกิน 3 นาที 4 ขวบไม่ควรเกิน 4 นาที เป็นต้น) 

2. มีลักษณะเป็นสื่อที่สร้างการมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive) หรือเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง (Two Ways  Communications)

3. ต้องมีความสนุกนำ ซึ่งความสนุกนั้นมักเกิดจากการเปิดโอกาสให้เด็กได้มีความร่วมและมีปฎิสัมพันธ์กับสื่อ

4. สื่อต้องสร้างการมีส่วนร่วม หรือการเรียนรู้ผ่านการเล่น (Learning Through Play) ไม่จงใจสอนจนเกินไป

5. กระตุ้นจินตนาการ

6. การนำเสนอควรจะต้องมีคาแรคเตอร์ที่เป็นเอกลักษณ์ น่าจดจำ

7. ตัวละครไม่เยอะ แต่ว่าคาแรคเตอร์ของแต่ละตัวขอให้ชัดเจน

8. เรื่องต้องเป็นเชิงประจักษ์ เป็นพฤติกรรมที่เห็นชัดเจน ไม่เป็นนามธรรม

9. เนื้อหาเรียบง่าย (Simplify) ไม่ซับซ้อนและเชื่อมโยงกับสถานการณ์ที่เด็ก ๆ จะนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง 

10. สามารถใช้และเพลงประกอบ เพื่อความน่าสนใจและเพื่อความสนุกสนาน และดนตรียังจะช่วยเสริมสร้างจินตนาการได้ด้วย และเป็นสื่อที่เข้าถึงเด็กๆได้ง่าย

11.  ใช้แก่นการนำเสนอด้วย Positive Approach และใช้ถ้อยคำในเชิงบวกเพื่อเสริมพลังบวก

12.  ใช้หลักการนำเสนอเน้นย้ำ ๆ ซ้ำ ๆ ในใจความ หรือ ถ้อยคำสำคัญ (Keywords) ที่ต้องการสื่อสารให้ชัดเจน

13. จบแบบ Happy Ending

        สิ่งที่ไม่ควรทำ  (Don’t) 

1. การสร้างตัวละครที่โหดร้าย หรือเป็นผู้ร้ายรุนแรงเกินไป

2. ระวังการใช้ภาพเสียงที่รุนแรง 

3. อย่ายัดเยียดในสิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็ก 

4. ระวังเรื่องเนื้อหาที่เด็กอาจจะเลียนแบบ ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายหรือผลเสียต่อตัวเด็กได้ 

5. อย่าพูดเยอะ Less Talk More Action ต้องเน้นที่การกระทำ มีบทพูด บทสนทนาให้น้อยแต่แสดงให้เห็นเป็นการกระทำให้ชัดเจน 

6. ไม่สื่อสารแบบ One-way Communications ไม่มองเด็กเป็น passive audience 

7. ไม่แกล้งใช้ทำเสียงเลียนแบบเด็กๆ เพราะเด็กจะรู้สึกถูกล้อเลียน การใช้เสียงต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

          สำหรับการทดลองผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น ได้ผลิตรายการโทรทัศน์ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัยในช่วง 3-6 ขวบ ที่มีเนื้อหาเน้นเสริมสร้างทักษะสังคมควบคู่กับศิลปะและดนตรี จำนวน 2 รายการ ได้แก่ รายการ Flowers Power ความยาว 5 นาที จำนวน 2 ตอน เป็นรายการสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีเนื้อหาด้านทักษะสังคมและศิลปะ และรายการ Sound to Song ความยาว 5 นาที จำนวน 2 ตอน เป็นรายการสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีเนื้อหาด้านทักษะสังคมและดนตรีผสานการเคลื่อนไหว จากนั้นได้มีการทดลองให้เด็กปฐมวัยได้รับชมเพื่อนำผลตอบรับมาพัฒนาเนื้อหาและรูปแบบให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งการทดลองผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อเด็กปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) แล้วนำไปให้เด็กกลุ่มเป้าหมายได้รับชม ทำให้ทราบผลตอบรับต่อรูปแบบและเนื้อหาของรายการ อันจะนำไปสู่การพัฒนาเนื้อหาและกลวิธีการนำเสนอเพื่อการพัฒนาการผลิตรายการสำหรับสำหรับเด็กปฐมวัยให้มีเหมาะสมกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในช่วงอายุ 3-6 ปี ในการศึกษาระยะต่อไป 


ททท. และ สทท. ร่วมประชุมหารือกับสมาคมท่องเที่ยวต่างๆ ในพื้นที่ประเด็นการเตรียมความพร้อมในจังหวัด ภูเก็ต กระบี่ พังงาและเกาะสมุย สุราษฎร์ธานี เพื่อเตรียมความพร้อมเปิดฤดูท่องเที่ยว

ททท. และ สทท. ร่วมประชุมหารือกับสมาคมท่องเที่ยวต่างๆ ในพื้นที่ประเด็นการเตรียมความพร้อมในจังหวัด ภูเก็ต กระบี่ พังงาและเกาะสมุย สุราษฎร์ธานี เพื่อเตรียมความพร้อมเปิดฤดูท่องเที่ยว




           นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ คุณชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) คุณสมพงษ์ ดาวพิเศษ นายกสมาคมที่พักและส่งเสริมสุขภาพอันดามันและอ่าไทย พร้อมด้วย ประธานสภาและ นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว จ.พังงา กระบี่ และจ.ภูเก็ต ร่วมประชุมหารือ up01-09-2021 09:03:34 สินค้า และกิจกรรมการท่องเที่ยว พร้อม ประเด็นการเตรียมความพร้อมในจังหวัด ภูเก็ต กระบี่ พังงาและเกาะสมุย สุราษฎร์ธานี เพื่อเตรียมความพร้อมเปิดฤดูท่องเที่ยวรองรับนักท่องเที่ยว Domestic คู่ขนานไปกับการเปิดประเทศของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2564




       ทั้งนี้ได้รับฟังข้อคิดเห็น ประเด็นเสนอแนะ และอุปสรรคของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในพื้นที่ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา เพื่อให้สอดคล้องกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว และ การทำการตลาดต่อไป 

#ThailandMoveOn #DonesticMoveOn #PhuketSandBox #SamuiPlus #PhangNgaPrompt #KrabiEvenMoreAmazing






วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ททท. มอบรางวัลสุดยอดนวัตกรรมสร้างสรรค์อุตสาหกรรมท่องเที่ยว TAT GYM 2021

ททท. มอบรางวัลสุดยอดนวัตกรรมสร้างสรรค์อุตสาหกรรมท่องเที่ยว TAT GYM 2021 ร่วมสร้างเศรษฐกิจยั่งยืนรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมผ่าน BCG โมเดล

       การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประกาศผลการแข่งขันในโครงการยกระดับขีดความสามารถของการท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืน หรือ TAT GYM 2021 เร่งฟื้นฟูท่องเที่ยวไทยภายใต้กรอบแนวคิดระบบเศรษฐกิจใหม่ BCG Economy โดยส่งเสริมให้ใช้การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ (Responsible Tourism) เป็นเครื่องมือสร้างความยั่งยืน หนุน 10 ผู้ประกอบการและตัวแทนชุมชนท่องเที่ยวใช้ “นวัตกรรม” คิดต่อยอดตอบโจทย์นักท่องเที่ยวในยุคปัจจุบัน

       นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า โครงการยกระดับขีดความสามารถของการท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืน หรือ TAT GYM 2021 นี้ ททท. ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2 เป็นการยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวด้วยนวัตกรรม และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี มีผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ 10 ทีมจากผู้สมัครทั้งสิ้น 43 ทีม และผ่านกระบวนการพัฒนาศักยภาพเข้มข้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยวกลุ่มมิลเลนเนียลในยุค New Normal ด้วยการอบรมออนไลน์จำนวน 10 ครั้ง รวมกว่า 20 ชั่วโมง โดยผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อที่สำคัญ อาทิ ทัศนคติของผู้ประกอบการอย่างความยั่งยืน พลวัตรการท่องเที่ยว (Dynamic of Tourism) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ การพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์กลุ่มมิลเลนเนียล และ Business Model 4.0 เป็นต้น นอกจากนี้ทั้ง 10 ทีม มีภารกิจในการพัฒนานวัตกรรมทั้งรูปแบบ Service, Process และ Product Innovation ร่วมกับที่ปรึกษาประจำทีมในระยะเวลา 30 วัน  ซึ่งผลจากความทุ่มเทและความตั้งใจของทุกทีม ทำให้ได้ผลงานนวัตกรรมด้านการท่องเที่ยวที่เป็นรูปธรรม โดยผลงานของทั้ง 10 ทีมนั้น ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยยกระดับขีดความสามารถของการท่องเที่ยวไทยบนพื้นฐานของแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Bio-Circular-Green Economy (BCG Economy Model) ผ่านรูปแบบการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ (Responsible Tourism) และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism)

         ทั้งนี้ ผู้เข้ารอบ 10 ทีม จะได้รับเงินสนับสนุนเพื่อพัฒนานวัตกรรมและต่อยอดธุรกิจทีมละ 10,000 บาท ได้แก่ ชุมชนบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น นำเสนอเส้นทางการท่องเที่ยววิถีชุมชนพร้อมประสบการณ์แบบ เที่ยว ทำ นำกลับบ้าน สัมผัสวิถีชุมชม ธรรมชาติ รวมถึงชิมอาหารท้องถิ่นและลงมือทำกิจกรรม ฟาร์มสเตย์ไร่คืนรัง จังหวัดนครราชสีมา นำเสนอการท่องเที่ยวแบบไร้ความเร่งรีบ ผ่านกระบวนการ 5 Senses โดยระหว่างการท่องเที่ยวนี้จะมี “เพื่อนทิพย์” ที่คอยนำกระบวนการต่าง ๆ มาเชื่อมโยงทำให้นักท่องเที่ยวได้เข้าใจ ค้นพบ ผสานตัวตนไปกับชุมชนและธรรมชาติ Scootdy Tour กรุงเทพมหานคร นำเสนอทางเลือกในการท่องเที่ยวชุมชนด้วยสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า ลดพลังงานในการเดินทางและเพิ่มเวลาการท่องเที่ยวในชุมชน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มของดีเมืองฝาง จังหวัดเชียงใหม่ นำเสนอนวัตกรรมแพลตฟอร์มชื่อลุงปันพาแอ่วเหนือ กระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวในแหล่งชุมชนผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์และออฟไลน์ อ้วนกลมแฮปปี้ฟาร์ม จังหวัดอุดรธานี นำเสนอการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ด้วยผ้าที่เขียน ภาพ วาด ด้วยสีจากผ้าย้อมสีธรรมชาติที่เหลือจากภาคการเกษตร วิสาหกิจชุมชนล่องแพบ้าน น้ำราบ จังหวัดตรัง นำเสนอประสบการณ์กล่อง 6 ผัสสะของบ้านน้ำราบ ภายใต้แนวคิด “เรียกปู สู่จาน ฟอกปอด อาบป่าเลน” ด้วย ตา หู ลิ้น จมูก กาย และใจ จากวัตถุดิบในชุมชน โรงแรมทรีธารา จังหวัดลำปาง นำเสนอ สื่อ Lampang Guide เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลทางด้านท่องเที่ยวลำปาง และสร้างสรรค์ให้เกิดการบอกต่อใน Social Media ไร่ใจยิ้ม จังหวัดกาญจนบุรี นำเสนอ University of Happiness มหาวิทยาลัยความสุข สร้าง Hardware On - Ground และ Software On - Cloud เพื่อสร้างประสบการณ์ร่วมกับชุมชน Hi Stranger กรุงเทพมหานคร จัดทำหลักสูตร Experience online เพื่อส่งต่อความรู้ด้านการเขียนและภาพเชิงสร้างสรรค์ เพื่อบอกเล่า เทคนิค เบื้องหลังการทำงานผ่านการนำเสนอในสื่อออนไลน์ และการออกเดินทางลงพื้นที่จริงตามสถานที่หรือแหล่งท่องเที่ยว และบ้านทุ่งรุ่งอรุณ จังหวัดเชียงราย นำเสนอนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ Miss story box เพราะเราคิดถึง จากการใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่นมาสร้างการรับรู้ผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์

     สำหรับทีมที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยม 4 ทีม ได้แก่ ไร่ใจยิ้ม อ้วนกลมแฮปปี้ฟาร์ม ฟาร์มสเตย์ไร่คืนรัง และ โรงแรมทรีธารา จะได้รับเงินสนับสนุนต่อยอดธุรกิจอีกทีมละ 15,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร รวมมูลค่ารางวัลในโครงการมากกว่า 150,000 บาท

โดยททท. เชื่อมั่นว่าทั้ง 10 ผู้ประกอบการและตัวแทนชุมชนท่องเที่ยว จะเป็นหนึ่งในกลไกร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยให้ยั่งยืนต่อไป ผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.tatgym.com และ Facebook page: TAT GYM 2021

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2564

นายกสมาคมกีฬาคนตาบอดเเห่งประเทศไทย มอบขวัญกำลังใจให้ทัพนักกีฬากรีฑา และ นักกีฬายูโดคนตาบอดทีมชาติไทย

นายกสมาคมกีฬาคนตาบอดเเห่งประเทศไทย

มอบขวัญกำลังใจให้ทัพนักกีฬากรีฑา และ

นักกีฬายูโดคนตาบอดทีมชาติไทย

นายอำนวย กลิ่นอยู่ นายกสมาคมกีฬาคนตาบอดเเห่งประเทศไทย เเละผู้บริหารสมาคมฯ เดินทางมามอบขวัญกำลังใจ  พร้อมนำเจ้าหน้าที่มาช่วยประสานงานด้านเอกสารต่างๆ  ให้กับทัพนักกีฬากรีฑาและนักกีฬายูโดคนตาบอดทีมชาติไทย  ที่นำโดยหัวหน้าผู้ฝึกสอน  นักกีฬากรีฑา เจนจิรา ปัญญาทิพย์  สุนีย์ภรณ์ ถนอมวงค์ ปัจจัย ศรีคำพันธ์ (ไกด์รันเนอร์) เเละ นักกีฬายูโด เมทินี วงษ์ชมภู ทั้งคณะออกเดินทางจากประเทศไทยเพื่อสู้ศึก PARALYMPIC GAMES 2020 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยสายการบิน Japan Airlines เที่ยวบินที่ JL034  เมื่อเดินทางถึงประเทศญี่ปุ่นต้องผ่านการตรวจและปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามมาตรการโควิดที่ทางเจ้าภาพกำหนดไว้อีกกว่า 3 ชั่วโมง รวมใช้เวลาเดินทางจากประเทศกว่า 10 ชั่วโมงจึงจะถึงหมู่บ้านนักกีฬา เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2564

ทั้งนี้ ทัพนักกีฬากรีฑาคนตาบอด สุนีย์ภรณ์ ถนอมวงค์ จะลงเเข่งในประเภท วิ่ง 400 ม. ในวันที่ 27-28 สิงหาคม 2564 เเละ วิ่ง 200 ม. วันที่ 2-3 สิงหาคม 2564  

เจนจิรา ปัญญาทิพย์ จะลงเเข่งในประเภท กระโดดไกล ในวันที่ 27 สิงหาคม 2564 เวลา 9.00 น.

ขณะที่ทีมยูโดส่ง เมทินี วงษ์ชมภู ชิงชัยในรุ่นไม่เกิน 52 กิโลกรัม ในวันที่ 27 สิงหาคม 2564 นี้

สมาคมกีฬาคนตาบอดแห่งประเทศไทย ขอเชิญชวนคนไทยทุกคน ร่วมใจเชียร์! นักกีฬาคนตาบอดทีมชาติไทย คว้าเหรียญในพาราลิมปิกเกมส์ ที่ประเทศญี่ปุ่น  ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า

บริษัท เอส.พี.พลาสติก อินดัสตรี จำกัด มอบ เครื่องสารละลาย ทางหลอดเลือดดำ

บริษัท เอส.พี.พลาสติก อินดัสตรี จำกัด มอบ

เครื่องสารละลาย ทางหลอดเลือดดำ


นายนิธิโรจน์-นางจิรนิษฐ์ อัครธนกุลกิตติ์ และครอบครัว เจ้าของโรงงานพลาสติก (ตรางู) บริษัท เอส.พี.พลาสติก อินดัสตรี จำกัด ที่ตั้งอยู่เลขที่ 39 ซอยประชาอุทิศ 75 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร  มอบเครื่องสารละลาย ทางหลอดเลือดดำจำนวน13เครื่อง มูลค่า390,000 บาท และยังเป็นตัวแทนมอบให้กับ บริษัทธนบุรีเครื่องครัวจำกัด อีกจำนวน5เครื่อง มูลค่า 150,000บาท เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย และทางโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ที่เป็นผู้มีอุปการคุณกับทางโรงบาลด้วยดีเสมอม


ทีเส็บ เตรียมจัดงานไมซ์ไทยรวมใจสร้างชาติ

 ทีเส็บ เตรียมจัดงานไมซ์ไทยรวมใจสร้างชาติ

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ เตรียมจัดงาน ไมซ์ไทยรวมใจสร้างชาติ” ในรูปแบบออนไลน์ (Virtual Meeting) วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม 2564 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความตระหนักถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมไมซ์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ การสร้างความรู้ความเข้าใจถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจไทย และทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ในอนาคต รวมถึงความพร้อมของไมซ์ซิตี้ศูนย์กลางภูมิภาคต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

                กิจกรรมหลักภายในงาน ประกอบด้วย การกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ อนาคตประเทศไทยกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชาติ” โดย นายวิโรจน์ นรารักษ์ รองเลขาธิการ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ การบรรยายในหัวข้อ ทิศทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ ปี 2565” โดย นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ

นอกจากนี้ ยังมีการเสวนาพิเศษในหัวข้อ ไมซ์ไทยรวมใจสร้างชาติ” โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมแสดงความพร้อมของไมซ์ไทยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาค ได้แก่ นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ รองผู้อำนวยการ สายงานพัฒนาและนวัตกรรม ทีเส็บนายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นนายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยาจังหวัดชลบุรีนายอนุชา มีเกียรติชัยกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ และนายภูมิกิตติ์ รักแต่งาม นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต

ผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน สามารถรับชมผ่านทางเฟซบุ๊กไลฟ์ ที่ Facebook MICE in Thailand และ ช่อง Youtube: Business Event Thailand

 

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564

นวัตกรรมล้ำยุคจากเยอรมัน Dr.Air เครื่องบำบัดอากาศฆ่าเชื้อ เขย่าตลาดเครื่องฟอกอากาศให้สะเทือน หวังส่วนแบ่งตลาด 280 ล้านบาท

นวัตกรรมล้ำยุคจากเยอรมัน Dr.Air เครื่องบำบัดอากาศฆ่าเชื้อ เขย่าตลาดเครื่องฟอกอากาศให้สะเทือน หวังส่วนแบ่งตลาด 280 ล้านบาท

          ตลาดเครื่องฟอกอากาศในประเทศไทยมูลค่ากว่า 2,800 ล้านบาท สะเทือนแน่ เมื่อบริษัท สมาร์ท เฮลท์ โซลูชั่น จำกัด นำเข้าและจำหน่าย สุดยอดนวัตกรรมเครื่องบำบัดอากาศเทคโนโลยีการฆ่าเชื้อล่าสุด HYDROXYL หรือ NUCLEOPHILE จากประเทศเยอรมัน ยี่ห้อ Dr.Air ที่ถูกคิดค้นโดยหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ระดับโลก ที่มีผลทดสอบสามารถฆ่าเชื้อ COVID-19 ได้รวดเร็วมากกว่า 90% ภายใน 5 นาที และมากกว่า 99.99% ภายใน 15 นาที ช่วยป้องกันมลพิษ แบคทีเรีย และไวรัส ตั้งเป้าขอส่วนแบ่งตลาด 10% หรือประมาณ 280 ล้านบาท

                โดยเฉพาะ Dr.Air DONUT รุ่นพกพาได้สุดฮอต ผลิตไออ้อน 5 ล้าน ions/cm3 สร้างเกราะป้อนกันมลพิษ และ เชื้อโรค พร้อมเติมวิตามินสร้างสมดุลอากาศรอบตัวผู้พกพาในรัศมี 1 ลูกบาศก์เมตร และเครื่องฆ่าเชื้อรุ่น TORNADO ใช้งานในรถยนต์ ที่จะเปิดตัวปลายเดือนสิงหาคมนี้      

   พ.ต.อ.จารึก สารโภค ประธานบริษัท สมาร์ท เฮลท์ โซลูชั่น จำกัด กล่าวว่า ในสถานการณ์ที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหามลพิษทางอากาศและการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสต่างๆ อย่างน่าตกใจ อาทิเช่น PM 2.5 และโควิด-19 นั้น บริษัทฯ เล็งเห็นและเป็นห่วงต่อภัยที่เข้ามาคุกคามสุขภาพและชีวิตของคนไทย จึงได้นำเข้าเครื่องบำบัดอากาศยี่ห้อ Dr.Air ซึ่งเป็นสุดยอดนวัตกรรมของโลกด้านการบำบัดอากาศ ป้องกันมลพิษ แบคทีเรีย และเชื้อไวรัส จากประเทศเยอรมนี เข้ามาจำหน่าย เพื่อเป็นทางเลือกในการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนไทย

                สำหรับเครื่องบำบัดอากาศ Dr.Air ที่บริษัทฯ นำเข้ามาจำหน่ายประกอบด้วย

          1. เครื่องบำบัดอากาศฆ่าเชื้อโรคที่ติดตั้งในที่ประชุม ในบ้านและในรถยนต์ คือรุ่น TORNADO ที่มีเทคโนโลยีการฆ่าเชื้อล่าสุด ด้วย HYDROXYL หรือ NUCLEOPHILE ที่ถูกคิดค้นโดยหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ระดับโลก PROFESSOR ANGEL PORGADOR ที่มีความรวดเร็วในการฆ่าเชื้อกลางอากาศและบนพื้นผิวทะลวงทุกซอกมุม โดยที่ยังใช้ชีวิตร่วมกันปกติไม่เป็นพิษกับคน ได้รับการทดสอบการฆ่าเชื้อ COVID-19 จากห้องปฏิบัติการ ไวรัสวิทยา Wuhan Institute Virology ประเทศจีน ระดับ P4 ซึ่งมีเพียงไม่กี่แห่งในโลก ผลทดสอบสามารถฆ่าเชื้อ COVID-19 ได้รวดเร็วมากกว่า 90% ภายใน 5 นาที และ มากกว่า 99.99% ภายใน 15 นาที ครอบคลุมการใช้งานถึง16 ตารางเมตร น้ำหนักเพียง 1 กิโลกรัม ออกแบบมาใช้งานง่ายและเอนกประสงค์ ในรถยนต์ส่วนบุคคล รถขนส่งสาธารณะ เช่น รถแท็กซี่ รถตู้ รถบัส รถไฟฟ้า BTS และ MRT  ลิฟท์โดยสาร รวมถึงการใช้งานในบ้าน ที่ทำงาน ร้านอาหาร และ สถานบริการ ต่างๆ เพื่อช่วยลดภาวะการติดเชื้อทางอากาศได้

นอกจากนี้ เพื่อสร้างความเชื่อ ยังได้ส่งผลิตภัณฑ์ไปทดสอบการฆ่าเชื้อ COVID-19 ที่สถาบันทดสอบ INNOVATIVE BIOANALYSIS รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ผลทดสอบได้ดีเช่นกัน โดยการรับรองอย่างเป็นทางการจะเสร็จสิ้นปลายเดือนสิงหาคม 2564 นี้

         2. เครื่องบำบัดอากาศขนาดพกพา รุ่น DONUT ที่กำลังเป็นสินค้ายอดนิยมของบริษัทฯ ที่มีประสิทธิภาพกำจัดเชื้อโรค โดยใช้วิธีการสร้างประจุลบที่เรียกว่า Anion ด้วยหลักการ CORONA DISCHARGE ทางไฟฟ้าสถิต ลอยไปในอากาศ ซึ่งประจุลบนี้จะทำหน้าที่จับอนุภาคขนาดเล็ก เช่น ฝุ่นควัน หมอก ละอองมลพิษ และเชื้อโรคต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นประจุบวกที่ลอยอยู่ในอากาศรอบตัวเรา เพื่อให้เกิดอนุภาคขนาดใหญ่ และทำให้เชื้อโรคอ่อนตัวลงตกลงสู่พื้น ก่อนที่จะถูกสูดดมเข้าทางระบบหายใจ ดังนั้น จึงเป็นการช่วยลดความเสี่ยงจากการสูดมลพิษในอากาศและเชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ระบบหายใจ รอบตัวผู้พกพาในรัศมี 1 ลูกบาศก์เมตร กำจัดเชื้อโรคแบคทีเรียได้มากกว่า 90% กำจัดฝุ่นขนาดเล็กป้องกันภูมิแพ้ ผลิตไออ้อนเข้มข้นได้ถึง 5 ล้านไออ้อน/ลูกบาศเซนติเมตร โดยใช้วิธีการพกพาด้วยการห้อยคอด้วยน้ำหนักเบาเพียง 30 กรัมไม่มีไส้กรองให้ยุ่งยาก

ประจุลบที่ปล่อยออกมาในอากาศ เปรียบเสมือนวิตามินที่ถูกสูดเข้าไปทางระบบหายใจ ขณะที่ร่างกายปกติของเรา จะมีทั้งประจุลบและประจุบวกในตัวเองเพื่อให้เกิดสมดุล แต่เมื่อเราทำงานไปในแต่วัน ประจุลบจะถูกใช้งาน และเมื่อมีปริมาณลดน้อยลงก็จะทำให้เรารู้สึกเมื่อยล้า

ประจุลบจะมีมากตามน้ำตกภูเขาทะเล ป่าเขา หรือในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้น ทำไมเวลาเราไปตามสถานที่ที่เรารู้สึกสดชื่นขึ้น ก็เพราะได้รับประจุลบ ทำให้ร่างกายมีสมดุลเพิ่มขึ้น โดยมีผลวิจัยมากกว่า 700 รายงานทั่วโลกถึงผลประโยชน์ของประจุลบ หนึ่งในนั้นคือ มีการทดลองในห้องเรียน โดยแบ่งห้องเรียนเป็น 2 กลุ่ม ห้องหนึ่งทำการติดตั้งเครื่องเติมประจุลบ ส่วนอีกห้องหนึ่งปล่อยตามธรรมชาติ ผลที่ได้รับคือ ห้องที่เติมประจุลบ นักเรียนจะมีสมาธิและมีความตั้งใจในการเรียน รวมถึงการจดจำที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน ฉะนั้นการมีอุปกรณ์ที่สามารถสร้างประจุลบได้ จึงเป็นประโยชน์กับร่างกายของเรา


นอกจากนี้ ยังมีนวัตกรรมเครื่องบำบัดอากาศระบบส่งอากาศบริสุทธิ์ที่ใช้ร่วมกับหน้ากาก KN95 ได้แก่ Air Force 1 และ Air Force 2 ป้องกันเชื้อโรคมากกว่า 99.9% หมดปัญหาการหายใจไม่สะดวกจากการใส่หน้ากากแบบธรรมดาที่จะทำให้เกิดภาวะออกซิเจนไม่เพียงพอส่งผลต่อสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาวและยังสร้างบรรยากาศภายใต้หน้ากากเราให้เป็นห้องปลอดเชื้อในตัว มีใส้กรอง HEPA ใช้นาน 500 ชั่วโมงหรือประมาณ 2 เดือน พร้อมปรับแรงลมได้ 3 ระดับ ใช้งานได้หลากหลาย ทั้งห้อยคอ รัดแขน รัดเอว และคาดศีรษะ น้ำหนักเพียง 150 กรัม

                                

          พ.ต.อ.จารึก สารโภค ประธานบริษัทฯ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ในปื 2564 นี้ บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายจะเข้ามาครองสัดส่วนการตลาดรวมของเครื่องฟอกอากาศ 2,800 ล้านบาท ซึ่งเป็นสินค้าในกลุ่มสินค้าเดียวกันไว้ประมาณ 10% หรือประมาณ 280 ล้านบาท และมีนโยบายคืนกำไรสู่สังคม โดยจะแบ่งรายได้จากการจำหน่ายสินค้า Dr.Air ทุกตัว สมทบทุนบริจาคซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนช่วยหายใจให้ตามโรงพยาบาลที่รักษาผู้ป่วยโควิดอาการหนัก โดยราคาขาย Dr.Air หลักพันบาท จะบริจาค 110 บาท ราคาหลักหมื่น บริจาค 1,110 บาท และหลักแสน จะบริจาค 10,910 บาท การบริจาคจะเสร็จสิ้นจนกว่าโควิดจะหมดจากประเทศไทย

ตอนนี้ Dr.Air ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ล่าสุด คุณต๋อง ศิษย์ฉ่อย หรือเจมส์ วัฒนา จากพรีเซนเตอร์สัญญา 3 ปี ได้ตัดสินใจเข้ามาถือหุ้นด้วยแล้ว เพราะเห็นว่า Dr.Air เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ



ทีเส็บเดินหน้าพัฒนามาตรฐานสถานที่จัดงาน เพิ่มความแข็งแกร่งของไมซ์ไทยในตลาดโลก

ทีเส็บเดินหน้าพัฒนามาตรฐานสถานที่จัดงาน

เพิ่มความแข็งแกร่งของไมซ์ไทยในตลาดโลก

ทีเส็บจัดงาน MICE Standards Day 2021 ในรูปแบบ Virtual Event ดึงผู้ประกอบการไมซ์กว่า 350 ราย เข้าร่วมงาน มุ่งเสริมมาตรฐานสถานที่จัดงานของไทยและอาเซียน เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน รองรับตลาดไมซ์ในอนาคต ปีนี้มีสถานประกอบการผ่านการรับรองมาตรฐาน TMVS และ AMVS รวมกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ

                นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ เปิดเผยว่า ทีเส็บกำหนดจัดงาน MICE Standards Day 2021 ในวันที่ 26 สิงหาคมนี้ เพื่อยกระดับมาตรฐานสถานที่จัดงานของไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยปีนี้เป็นครั้งแรกที่จัดงานในรูปแบบการจัดงานเสมือนจริงผ่านสื่อออนไลน์ (Virtual Event) ประมาณการว่าจะมีผู้ประกอบการไมซ์กว่า 350 รายเข้าร่วมงาน

                “มาตรฐานกลายเป็นเรื่องสำคัญมากจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้ทีเส็บเร่งสานต่อการดำเนินงานยกระดับมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย หรือ Thailand MICE Venue Standard (TMVS) โดยเพิ่มเติมแนวปฏิบัติด้านสุขอนามัยสำหรับอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE Venue Hygiene Guidelines) สำหรับสถานที่จัดงาน ผู้จัดงาน รวมถึงผู้ร่วมงาน และไทยเป็นประเทศแรกที่พัฒนายกระดับมาตรฐานสถานที่จัดงานอาเซียน หรือ ASEAN MICE Venue Standard (AMVS) เมื่อร่วมกันสร้างความมั่นใจในการจัดงานได้อย่างปลอดภัยในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ไมซ์ของไทยก็จะแข่งขันได้ดี

                จากแนวทางดังกล่าว ทีเส็บ จึงกำหนดจัดงาน MICE Standards Day 2021 ผ่านการร่วมงานในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงาน พิธีมอบตราสัญลักษณ์มาตรฐานต่างๆ โดยในปีนี้มีสถานประกอบการที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน TMVS รวมจำนวน 194 แห่ง แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทห้องประชุม (Meeting Room) 169 แห่ง จำนวน 472 ห้องประเภทสถานที่จัดงานแสดงสินค้า (Exhibition Venue) 10 แห่ง จำนวน 16 ฮอลล์ และประเภทสถานที่จัดกิจกรรมพิเศษ (Special Event Venue) จำนวน 15 แห่ง

       ส่วนสถานประกอบการที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน AMVS รวมจำนวน 28 แห่ง แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทห้องประชุม (Meeting Room) 25 แห่ง และประเภทสถานที่จัดงานแสดงสินค้า (Exhibition Venue) 3 แห่ง

กิจกรรมภายในงาน ยังมีการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ ให้แก่ สมาคมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไมซ์ 4 สมาคม และ 1 หน่วยงาน ได้แก่ สมาคมธุรกิจสร้างสรรค์การจัดงาน (EMA), สมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) (TEA), สมาคมโรงแรมไทย (THA), สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย) (TICA), และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน เพื่อเป็นเกียรติและแสดงความขอบคุณในฐานะหน่วยงานพันธมิตรหลักที่ร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ร่วมกันอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด

นอกจากนี้ ภายในงานยังจัดให้มีกิจกรรมสัมมาเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานอุตสาหกรรมไมซ์ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากอุตสาหกรรมไมซ์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการอาหารและความปลอดภัยอาหาร เป็นผู้ร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ในหัวข้อ ขยะอาหารกับแนวทางจัดการอาหารส่วนเกินในธุรกิจไมซ์” และหัวข้อ การจัดการสถานที่จัดงานไมซ์อย่างไรให้โดนใจลูกค้ามุสลิม

ปัจจุบัน มาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย หรือ Thailand MICE Venue Standard (TMVS) มีสถานประกอบการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน รวมทั้งสิ้น 880 แห่ง โดยแบ่งเป็นแต่ละประเภท คือ

ประเภท  จำนวน (แห่ง)                                                            จำนวน (ห้อง/ฮอลล์)

ห้องประชุม (Meeting Room) 809                                                   2,103

สถานที่จัดงานแสดงสินค้า (Exhibition Venue)            25                47

สถานที่จัดกิจกรรมพิเศษ (Special Event Venue)        46                 -

                สำหรับมาตรฐานสถานที่จัดงานอาเซียน หรือ ASEAN MICE Venue Standard (AMVS) มีสถานประกอบการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน รวมทั้งสิ้น 68 แห่ง โดยแบ่งเป็นแต่ละประเภท คือ

ประเภท  จำนวน (แห่ง)

ห้องประชุม (Meeting Room)           65

สถานที่จัดงานแสดงสินค้า (Exhibition Venue)            3

                “ในปี 2565 ทีเส็บ ตั้งเป้าการตรวจประเมินมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย เพิ่มอีก 155 แห่ง และจะศึกษาความเป็นไปได้ในการเพิ่มมาตรฐานการรับรองประเภทใหม่ๆ รวมไปถึงการร่างเกณฑ์มาตรฐานการจัดงานที่เป็นมิตรต่อมุสลิมเพื่อขยายขอบข่ายมาตรฐานรองรับการจัดงานให้มากขึ้น ด้านมาตรฐานสถานที่จัดงานอาเซียน จะเร่งผลักดันมาตรฐานในประเภทสถานที่จัดกิจกรรมพิเศษ ให้เป็นที่ยอมรับในระดับอาเซียน เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ในภูมิภาคยุควิถีใหม่ต่อไป” นายจิรุตถ์ กล่าวทิ้งท้าย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ป่อเต็กตึ๊งเป็นตัวแทนผู้มีจิตศรัทธาส่งมอบไออุ่น แจกจ่ายผ้าห่มกันหนาวพร้อมเครื่องอุปโภคบริโภค ให้ชาวเชียงราย ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร

ป่อเต็กตึ๊งเป็นตัวแทนผู้มีจิตศรัทธาส่งมอบไออุ่น แจกจ่ายผ้าห่มกันหนาวพร้อมเครื่องอุปโภคบริโภค ให้ชาวเชียงราย ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร          ...