วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2567

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เสด็จพระราชทานเข็ม “พุ่มเพชร

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เสด็จพระราชทานเข็ม “พุ่มเพชร” 

สัญลักษณ์ของมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์

      สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประธานที่ปรึกษามูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้า ฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเข็ม “พุ่มเพชร” สัญลักษณ์ของมูลนิธิฯ แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรก ในฐานะประธานคณะกรรมการทุนการศึกษาของมูลนิธิฯ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดที่ดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรก ในฐานะประธานคณะกรรมการอุปการะเยาวชนประจำจังหวัดของมูลนิธิฯ ประธานคณะกรรมการอุปการะเยาวชนประจำกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย ผู้ทำคุณประโยชน์ให้มูลนิธิฯ โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, ม.ร.ว.พร้อมฉัตร สวัสดิวัตน์, ผศ.ดร.พรทิพย์ พุกผาสุข   นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ - ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ, คุณอารยา อรุณานนท์ชัย, คุณทิพวิภา สุวรรณรัฐ, คุณอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์, คุณสุดฤทัย เลิศเกษม, ดร.ประวิช รัตนเพียร, ดร.พรชัย มงคลวนิช เป็นต้น ณ ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย

      การเสด็จพระราชดำเนินกระทรวงมหาดไทยครั้งนี้ นอกจากเป็นครั้งปฐมฤกษ์แล้ว ยังนำซึ่งสิริมงคล และพระราชทานขวัญกำลังใจแก่ผู้เป็นกำลังสำคัญในการดำเนินงานของมูลนิธิฯ ในจังหวัดต่างๆ เป็นยิ่งนัก ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนผู้ด้อยโอกาสในจังหวัดให้เป็นพลเมืองที่ดีมีคุณธรรมของประเทศชาติสืบไป

       การจัดงานพระราชทานเข็ม “พุ่มเพชร”  ได้รับความสนับสนุนอย่างดียิ่งจากกระทรวงมหาดไทย โดยมี ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย และรองประธานกรรมการอำนวยการมูลนิธิฯ เป็นประธานจัดงานฯ 

      ก่อนเริ่มพิธีหม่อมราชวงศ์ พร้อมฉัตร สวัสดิวัตน์ รองประธานกรรมการอำนวยการมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ ได้ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายเข็ม “พุ่มเพชร” สัญลักษณ์มูลนิธิ ฯ แด่องค์ประธานในพิธี เข็มพุ่มเพชรนี้ตกแต่งมาจาก “พุ่มเพชร” เครื่องหมายของการจัดงาน “นาฏลีลาน้อมเกล้าฯ” เนื่องในโอกาสมหามงคลที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นปีที่ ๓๖ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔ โดยปีนี้มีผู้ว่าราชการจังหวัดเข้าเฝ้ารับพระราชทานเข็ม “พุ่มเพชร” ๕๐ จังหวัด และประธานแม่บ้านมหาดไทย ๓๘  จังหวัด รวม ๘๘ คน

       กระทรวงมหาดไทย ได้ให้ความสนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิฯอย่างดียิ่งต่อเนื่องตลอดมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเมื่อปี ๒๕๒๕ ในวโรกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ซึ่งคณะกรรมการสมโภช กรุงรัตนโกสินทร์  โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มอบให้กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทย เป็นเจ้าของเรื่องสนับสนุนการทำงานของมูลนิธิฯ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด อาทิ คัดเลือกเยาวชนผู้ยากไร้ด้อยโอกาสและขาดแคลนทุนการศึกษาจากอำเภอต่างๆ เข้ารับทุนมูลนิธิฯ และจัดการส่งทุนการศึกษาให้ถึงมือเยาวชนอย่างครบถ้วนและรวดเร็ว

      สำหรับประธานประธานแม่บ้านมหาดไทยมีหน้าที่สร้างเสริมสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็ง โดยไปเยี่ยมเยียนติดตามดูแลทุกข์สุขของเยาวชนผู้รับทุนมูลนิธิฯ อย่างใกล้ชิด อันจะส่งผลให้เยาวชนมีความรู้สึกอบอุ่น ไม่โดดเดี่ยว และเป็นการสกัดกั้นยาเสพติดต้นเหตุแห่งปัญหาในกลุ่มเยาวชน ผู้ด้อยประสบการณ์ชีวิตได้อย่างดีที่สุด ทั้งนี้เพื่อผนึกกำลังใจร่วมกันพัฒนาเยาวชนที่มีความประพฤติดี และยากไร้ในแต่ละจังหวัด ให้มีความรู้ควบคู่คุณธรรม  มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งคุณธรรมล้ำค่าดังกล่าวคู่ควรแก่การปลูกฝังไว้ในสายเลือดของเยาวชนไทยทุกคนสืบไป เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าทุกพระองค์

       มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ก่อตั้ง โดย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ บุคคลสำคัญของโลก ทรงเป็นประธานก่อตั้งมูลนิธิฯ ตามคำกราบทูลเชิญของหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก ผู้ประสานการก่อตั้ง

      มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชนฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม รับมูลนิธิฯ ไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เมื่อปี ๒๕๒๖  สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานที่ปรึกษามูลนิธิฯ ปัจจุบัน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ทรงเป็นประธานมูลนิธิฯ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๓  ตามคำกราบทูลเชิญของที่ประชุมใหญ่ของคณะกรรมการอำนวยการมูลนิธิฯ เพื่อทรงเป็นศูนย์รวมใจ ประทานพระเมตตาบารมีคุ้มเกล้าฯ ให้มูลนิธิฯ สามารถดำเนินงานที่ยังคุณประโยชน์ต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ได้อย่างมั่นคง และเป็นที่ศรัทธาเชื่อมั่นของประชาชนทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องต่อไป

        ปัจจุบันมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชนฯ ได้รับเงินบริจาคจากประชาชนทั่วประเทศ สำหรับให้เป็นทุนการศึกษาอบรมแก่เยาวชนทุกอำเภอทุกสังกัด ทุกระดับการศึกษา จำนวนทั้งสิ้นเกือบ ๓ พันคน เป็นเงินประมาณ ๑๒ ล้านบาท และตลอด ๔๒ ปีที่ผ่านมา มูลนิธิฯ ให้ทุนการศึกษาอบรมแก่เยาวชนไปแล้วรวมทั้งสิ้นประมาณ ๓๓,๐๐๐ ทุน เป็นเงินทุนทั้งสิ้นกว่าเกือบ ๓๐๐ ล้านบาท

         ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมชุบชีวิต ให้โอกาสเยาวชนผู้ยากไร้ด้อยโอกาสทั่วประเทศ ได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องติดต่อบริจาคเงินได้ที่ มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชนฯ ไลน์ไอดี ๐๘-๐๔๐๔-๒๔๓๙ และ ๐๘๕-๑๑๔-๘๙๐๐ โทร. ๐๘-๐๔๐๔-๒๔๓๙ ใบเสร็จรับเงินนำไปลดหย่อนภาษีได้ และติดตามการดำเนินงานของมูลนิธิฯ กว่า ๔๒ ปี ในการพัฒนาเยาวชนฯ ได้ที่ เฟสบุ๊ค : มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชนฯ เว็บไซต์ : www.ruamchit-normklao.org










วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2567

มูลนิธิอนุสรณ์หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ในพระราชูปถัมภ์ฯ จัดงาน “วันหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก” ครั้งที่ 36

มูลนิธิอนุสรณ์หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ในพระราชูปถัมภ์ฯ จัดงาน “วันหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก” ครั้งที่ 36

งานสร้างเสริมคนดีมีคุณธรรม วันที่ 18 ตุลาคม 256 นี้

      มูลนิธิอนุสรณ์หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดงาน “วันหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก” ครั้งที่ 36 ในวันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม  2567 เวลา 11.00 น. ณ หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ ซอยอารีย์สัมพันธ์ โดย พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานในงานฯ พร้อมมอบรางวัล “หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก” รางวัลสร้างเสริมคนดีมีคุณธรรม อีกทั้งเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดี และเพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่หม่อมงามจิตต์ฯ โดยมีหน่วยราชการต่างๆ  และองค์การสาธารณกุศล จำนวนมาก อาทิ กรุงเทพมหานคร กระทรวงมหาดไทย กรมประชาสัมพันธ์ และผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ ฯลฯ ร่วมจัดงาน

      รางวัล “หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก” เป็นรางวัลสร้างเสริมคนดีมีคุณธรรมที่มูลนิธิอนุสรณ์หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตรฯ จัดมอบให้แก่บุคคลสาขาอาชีพต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อเชิดชูเกียรติ และรำลึกในความสามารถ ในคุณความดีของหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก ที่มีผลงานเป็นคุณประโยชน์แก่สังคม จนเป็นที่ยกย่องยอมรับทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และเพื่อเป็นการยกย่องบำรุงขวัญให้กำลังใจแก่ผู้ได้รับคัดเลือกเข้ารับรางวัล “หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก” ทั่วประเทศที่มีความตั้งใจจริง เสียสละในการปฏิบัติหน้าที่ภารกิจต่างๆ ที่รับผิดชอบด้วยจิตใจที่เปี่ยมล้นด้วยคุณธรรมอันประเสริฐ อีกทั้งเพื่อส่งเสริมให้บุคคลเหล่านั้น เกิดความภาคภูมิใจในอาชีพการงานของตน และเป็นแรงจูงใจ เป็นตัวอย่างแก่เพื่อนร่วมอาชีพเดียวกัน บุคคลทั่วไป รวมทั้งอนุชนรุ่นหลังที่จะมุ่งมั่นปฏิบัติงานให้มีคุณภาพและมีคุณธรรมยิ่งขึ้น อันจะส่งผลดีต่อการพัฒนาเยาวชน สังคม และประเทศชาติโดยส่วนรวมด้วย

      หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ในพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ได้รับการประกาศยกย่องจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกในรอบ 100 ปี ชาตกาล ในปี 2558 ในฐานะผู้มีผลงานดีเด่นด้านสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาชุมชน และการศึกษาด้านวัฒนธรรม เนื่องด้วยได้ประกอบคุณงามความดีเป็นอเนกประการแก่ประเทศชาติและชาวโลก เป็นคนไทยคนเดียว และคนเอเชียคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาสตรีระหว่างประเทศ (สภาสตรีโลก) ในรอบ 136 ปี (ณ ปี 2567) อีกทั้งเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติของนักสังคมสงเคราะห์ นักพัฒนาสังคมผู้เสียสละ เป็นผู้นำสตรีที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ริเริ่มงานระดับชาติจำนวนมาก ตั้งแต่ 63 กว่าปีที่แล้ว ซึ่งเป็นงานสาธารณกุศลที่ส่งเสริมสนับสนุนงานของรัฐบาล ซึ่งงานเหล่านั้นยังจำเป็น และมีคุณค่ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งยังดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่ออำนวยคุณประโยชน์ในการพัฒนาคน สังคม และประเทศชาติจนถึงทุกวันนี้

       รางวัล “หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลก” ประจำปี 2567 มอบให้แก่ผู้ได้รับการคัดเลือกประเภทต่างๆ ทั่วประเทศ รวม 139 คน ดังนี้คือ 

1. ประเภท ประธานคณะกรรมการอุปการะเยาวชนประจำจังหวัด (ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด) จำนวน 10 คน โดยมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นผู้คัดเลือก 

2. ประเภท ผู้บำเพ็ญประโยชน์ดีเด่นแก่ประชาชนและสังคม จำนวน  44  คน ได้แก่ ตำรวจจราจร  จำนวน  10  นาย (คัดเลือกจาก 3,200 นาย), พนักงานกวาดถนน จำนวน 6 คน (คัดเลือกจาก 35 เขต), พนักงานขับรถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) จำนวน 10 คน (คัดเลือกจาก 1,000  คน), ผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 10 คน (คัดเลือกจาก พร. และ ERT จำนวน 600,000 คน) พลเมืองดีและจิตอาสาดีเด่น จำนวน 8 คน (คัดเลือกจากประชาชนทั่วไป 16 คน โดยสถานีวิทยุ สวพ.FM91 เป็นผู้พิจารณาคัดเลือก)

3.ประเภท อาจารย์ระดับอุดมศึกษาผู้ทรงคุณธรรมมีผลงานดีเด่น ในการพัฒนาคุณธรรม และจริยธรรมของนิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษา จำนวน 7 คน จากสถานศึกษาทั่วประเทศ ด้วยความร่วมมือของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ ในการคัดเลือก 

4. ประเภท ครู หรือ เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบดูแลการศึกษาของเยาวชนผู้ด้อโอกาสทั่วประเทศ ของมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชนฯ ด้วยเมตตาจิตที่คู่ควรแก่การยกย่อง จาก 41 จังหวัด จำนวน 57 คน โดยในต่างจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้พิจารณา คัดเลือก สำหรับในกรุงเทพฯ หน่วยงานต้นสังกัด และมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เป็นผู้พิจารณาคัดเลือก

5. ประเภท คนพิการดีเด่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิต จำนวน 7 คน จากหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน  ทั่วประเทศ  คัดเลือกเสนอมา  195  คน 

6. ประเภท หมู่บ้านหัตถกรรมดีเด่น จำนวน 12 หมู่บ้าน (คัดเลือกจากหมู่บ้านทั่วประเทศ 36 หมู่บ้าน) และผู้นำหมู่บ้านหัตถกรรมดีเด่น จำนวน 2 คน ประธานมูลนิธิศูนย์กลางืประสานงานพัฒนาชนบท  เป็นประธานคัดเลือก        





วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2567

คุณหญิงณัฐิกา ร่วมไว้อาลัย งานศพ คุณแม่เฉลิมลาภ แทนสถิตย์

คุณหญิงณัฐิกา ร่วมไว้อาลัย

งานศพ คุณแม่เฉลิมลาภ แทนสถิตย์

       คุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล ประธานสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมไว้อาลัยงานศพคุณแม่เฉลิมลาภ แทนสถิตย์ มารดา พญ.เฉลิมวรรณ ศศิประภา นายกสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย-อุดรธานี โดยมีครอบครัว ญาติพี่น้อง และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมงานมากมาย ณ ศาลา 5 วัดเทพลีลา กรุงเทพฯ เมื่อวันที่  2 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา







สมเด็จพระสังฆราชฯ ประทานพรพร้อมประทานน้ำพระพุทธมนต์แก่ชีวิตคู่

สมเด็จพระสังฆราชฯ ประทานพรพร้อมประทานน้ำพระพุทธมนต์แก่ชีวิตคู่

    หม่อมหลวงสราลี กิติยากร และ นายวุฒิศักดิ์ รัตนสุวรรณ์ ที่ปรึกษานายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการรองนายกรัฐมนตรี เข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก  ขอประทานพรพร้อมรับประทานน้ำพระพุทธมนต์แก่ชีวิตคู่  เพื่อความเป็นสิริมงคล ท่ามกลางครอบครัว ญาติพี่น้อง และแขกผู้มีเกียรติร่วมงาน ณ วัดราชบพิธ สถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1กันยายน พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา




วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

BDMS จัดอาหารเพื่อสุขภาพภายใต้แบรนด์ "อิ่ม by BDMS"

BDMS จัดอาหารเพื่อสุขภาพภายใต้แบรนด์ "อิ่ม by BDMS"

       อิ่มอร่อยสุขภาพดีด้วย "อิ่ม by BDMS" ผู้ช่วยที่ทำให้มื้ออาหารของคุณเป็นเรื่องง่าย ตอบโจทย์สายรักสุขภาพด้วยเมนูหลากหลาย  BDMS (Bangkok Dusit Medical Services) เปิดตัวบริการด้านอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารเฉพาะโรค และ อาหารเฉพาะบุคคล ภายใต้ชื่อแบรนด์ "อิ่ม by BDMS" ซึ่งเป็นอาหารที่ผ่านการคัดสรรวัตถุดิบ เมนูอาหารและการปรุงอาหาร ที่อยู่ในการดูแลของนักโภชนาการ ทีมแพทย์ และเชฟ โดยออกแบบอาหารให้เหมาะสมเฉพาะกับแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วย หรือ ผู้ที่รักสุขภาพ


       เนื่องด้วยในปัจจุบันความเร่งรีบในชีวิตประจำวันทำให้หลาย ๆ คนให้ความสำคัญ ในการดูแลสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องที่สำคัญอย่างมาก คือ เรื่องอาหารการกิน สำหรับคนที่อยากดูแลสุขภาพแต่คิดว่าการทำอาหารเพื่อสุขภาพเป็นเรื่องยุ่งยาก ใช้เวลานานและ ไม่มีเวลาพอที่จะทำ "อิ่ม by BDMS" อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ มีบริการผลิตและจัดส่งอาหารให้ถึงมือ โดยที่คุณไม่ต้องคอยกังวลที่จะต้องคำนวณสารอาหารต่าง ๆ ด้วยตัวเอง


"อิ่ม by BDMS"  มีให้บริการอาหาร 4 ประเภทด้วยกัน

1. อาหารเพื่อภาวะโรค (โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต โรคมะเร็ง อาหารเพื่อเตรียมการกลืนแร่ และอาหารผู้สูงอายุ)

2. อาหารเพื่อสุขภาพ เหมาะสำหรับสายรักสุขภาพ หรือ ผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนัก

3. อาหารทางสายยาง สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานทางปากได้ มีทั้งสูตร ผู้ป่วยเบาหวาน สูตรมาตรฐาน และสูตรเฉพาะบุคคล

4 อาหารเฉพาะบุคคล สำหรับการดูแลพิเศษ ด้วยการคำณวนสารอาหาร ตามสัดส่วนของแต่ละบุคคล ภายใต้การดูแล โดยทีมนักกำหนดอาหาร

        เพราะเราอยากให้ทุกคนได้ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพอย่างแท้จริง ให้อิ่ม ร่วมสร้างความมั่นใจให้ทุกคนด้วยอาหารของคุณที่จะ “อิ่มสุขทุกคำ” มาเปลี่ยนมื้ออาหารเดิมๆ ให้เป็นมื้อพิเศษ อิ่ม อร่อย และดีต่อสุขภาพไปกับ "อิ่ม by BDMS"

        ผู้สนใจติดต่อสอบถามได้ทาง Facebook : อิ่ม by BDMS หรือ โทร. : 02-310-3280 Line : @immbybdms  

LINK : https://page.line.me/immbybdms





วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

"พระครูไพบูลย์รัตนาภรณ์" ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ให้เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ

"พระครูไพบูลย์รัตนาภรณ์" ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ให้เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ

        พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ให้ พระครูไพบูลย์รัตนาภรณ์ (สมบูรณ์ รตนญาโณ ป.ธ.๓) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๐ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร พระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ มีราชทินนามว่า "พระวชิรรัตนรังษี"

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๗

ประกาศ ณ วันที่ ๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เป็นปีที่ ๙ ในรัชกาลปัจจุบัน

       สำหรับประประวัติโดยสังเขปของ "พระครูไพบูลย์รัดนาภรณ์" (สมบูรณ์ รตนญาโณ ป.ธ.๓) ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๐ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร ฉายา รตนถาโณ อายุ ๖๖ พรรษา ๓๖

วิทยฐานะ น.ธ. เอก, ป.ธ. ๓ วุฒิทางโลก ป.๔ สังกัตวัตหงส์รัตนาราม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

ปัจจุบันตำรงตำแหน่ง  ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๐

                                     ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม

                                     ครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดหงส์รัตนาราม

       สถานะเดิม ชื่อ สมบูรณ์ นามสกุล บุญมา เกิดเมื่อวันที่ ๖ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ เป็นบุตร นายเลี่ยง บุญมา และนางฝ้าย บุญมา 

อยู่บ้านเลขที่ ๓๑ หมู่ที่ ๘ บ้านหนองหว้า ตำบลหนองไฮ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

อุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ณ วัดสระกำแหงใหญ่ ตำบลกำแพง

อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

พระอุปัชฌาย์ คือ พระอธิการเครื่อง วัดสระกำแพงใหญ่ จังวัดศรีสะเกษ

พระกรรมวาจาจารย์ คือ พระอาจารย์สุข โกวีโท วัดสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ

พระอนุสาวนาจารย์ คือ พระสมชาย วัดสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ

        สำหรับผลงานของท่านที่เด่นๆ คือ

- เป็นประธานดำเนินการก่อสร้างพระมหาเจดีย์พุทธาคมรตนญาณมุนีศรีนครลำดวน วัดนาโนน ตำบลหนองไฮ อำภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ สูง ๙ ชั้น รวม ๖๙ เมตร กว้างบริเวณพื้นที่ ๑ ไร่ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สิ้นงบประมาณการก่อสร้าง  ๑๑๕.๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งร้อยสิบห้าล้านบาทถ้วน)

- เฉพาะในปี พ.ศ. ๒๕๖๗ ได้บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ช่วยเหลือสังคมและพระพุทธศาสนา สงเคราะห์ประชาชน เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อาทิเช่น

แจกทานให้ผู้ยากไร้ ช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียง รพ.สต. หนองไฮ ๗๐๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดแสนบาทถ้วน)

มอบรถพยาบาลฉุกเฉิน ให้แก่ อบต.หนองไฮ ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านบาทถ้วน)

มอบทุนสร้างโรงพยาบาลนาคู ๔๐๐,๐๐๐ บาท (สี่แสนบาทถ้วน)

มอบเงินสร้างอุโบสถวัดหนองไฮ ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท (แปดล้านบาทถ้วน)

มอบเงินซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ รพ.อุทุมพรพิสัย ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน)

มอบทุนสนับสนุนการศึกษาวิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน)



วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2567

รมว. ท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมด้วย ผู้ว่าการ ททท. ร่วมปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ : เดินหน้าท่องเที่ยวไทย ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 ของ สทท.

รมว. ท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมด้วย ผู้ว่าการ ททท. ร่วมปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ : เดินหน้าท่องเที่ยวไทย ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 ของ สทท.



       นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 แถลงนโยบาย สทท. ประจำปี 2567 และแถลงข่าว "ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทยและอัพเดตสถานการณ์ทองเที่ยว" ไตรมาส 2/2567  พร้อมฟังการบรรยายปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "เดินหน้าท่องเที่ยวไทย" จากนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โดยมี นายจีรวัฒน์ ลีนะกนิษฐ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดร.เพ็ญพิสุทธ์ จินตโสภณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายวิทวัส เมฆสุต นายกสมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวไทย (สนท.) นายวัสน์พล อรรถพรธนเสฐ นายกสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย คณะกรรมการบริหาร และสมาชิก สทท. ทั่วประเทศ ร่วมรับฟัง ณ ห้องอัศวิน แกรนด์ เอ โรงแรมอัศวินแกรนด์ คอนเวนชั่น เมื่อวันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2567



        สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เชื่อมั่นรายได้ท่องเที่ยว 35 ล้านล้านบาทเป็นไปได้ เสนอตั้ง Team Thailand ปั้นการตลาดแบบมุ่งเป้า สร้างสมดุล Demand-Supply กระจายรายได้จากเมืองหลักสู่เมืองน่าเที่ยว




        การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไตรมาส 2/2567 อยู่ที่ระดับ 79 ลดลงจากไตรมาส 1/2567 ที่ระดับ 81 สะท้อนสถานการณ์ท่องเที่ยวยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปกติมาก ส่วนไตรมาสหน้า 3/2567 อยู่ที่ระดับ 75 ลดลงจากไตรมาสนี้แต่ดีกว่าปีที่ผ่านมา



       ไตรมาสนี้ ธุรกิจบริการขนส่งผู้โดยสาร บริษัทนำเที่ยว ธุรกิจสปา สถานบันเทิง และแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น ประเมินรายได้ไตรมาสนี้ดีกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนธุรกิจที่พักแรม ร้านอาหาร ร้านขายของฝากของที่ระลึก รายได้ลดลง ในภาพรวมประเมินว่ารายได้อยู่ที่ร้อยละ 48 เทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 ธุรกิจร้านขายของฝากมีการฟื้นตัวของรายได้ช้ากว่าธุรกิจอื่น อ้ตราการจ้างงานกลับมาแล้ว 99% สิ่งที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญคือ การพัฒนาทักษะให้มีคุณภาพสูงขึ้น ส่วนเรื่อง Digital Wallet ผู้ประกอบการร้อยละ 40 ไม่เห็นด้วย เนื่องจากไม่สามารถใช้กับการท่องเที่ยว และร้อยละ 76 ต้องการให้โครงการ Digital wallet สามารถใช้กระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศได้




      นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) กล่าวว่า ในด้าน Demand รายได้ 35 ล้านล้านบาทนั้นสามารถทำได้ ปัจจัยอยู่ที่นโยบายรัฐ และความพร้อมของ Supply Side รัฐบาลชุดนี้ได้ขับเคลื่อนเชิงนโยบายที่ได้ผลหลายอย่างเช่น มาตรการ Free Visa 93 ประเทศ-พื้นที่ / การขับเคลื่อน
Softpower เพื่อการท่องเที่ยว / การส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ / การผลักดันให้เกิด Mega Event ต่างๆ / การส่งเสริมเมืองรองให้เป็นเมืองน่าเที่ยวผ่านมาตรการภาษี




       ด้าน นางฉลอง สงล่า ประธานสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (TFOPTA) กล่าวว่า TFOPTA เป็นตัวแทนของผู้ประกอบการในต่างจังหวัดกว่า 100 สมาคม ส่วนใหญ่มาจาก 55 เมืองรอง ซึ่งวันนี้เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่รัฐบาลสนับสนุนให้เป็นเมืองน่าเที่ยว และมีนโยบายส่งเสริม เช่น มาตรการภาษีกระตุ้นสัมมนาในประเทศสำหรับนิติบุคคล และกระตุ้นการท่องเที่ยวสำหรับบุคคลธรรมดา 15,000 บาท สมาชิก TFOPTA คือ เจ้าของสินค้าและบริการในท้องถิ่น สิ่งที่ท้าทายคือ เราต้องพัฒนาสินค้าให้สะดวก สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน และมีนวัตกรรม จุดอ่อนของเมืองรองคือ ความสะดวกในการเดินทาง ความพร้อมของบุคลากรและแหล่งท่องเที่ยว และการยังไม่เป็นที่รู้จักของทั้งนักท่องเที่ยวและ Travel Agency ดังนั้นเราต้องการ 4 เรื่องคือ การฝึกอบรมและ Workshop สร้าง 5 Must do 55 เมือง บัสทัวร์ทั่วไทย 5,000 เที่ยว ส่งเสริมการท่องเที่ยวข้ามภาค 5 ภาค การจัดมหกรรมท่องเที่ยว 5 ภาค และการจัด Fam Trip แนะนำแหล่งท่องเที่ยวในเมืองน่าเที่ยวให้กับ Agent และ Influencer




         ส่วน นายกิตติ พรศิวะกิจ ประธาน Smart Tourism สทท. และกรรมการ ททท. กล่าวว่า จำนวนนักท่องเที่ยวในครึ่งปีแรกถือว่าทำได้ตามเป้าที่ 17.5 ล้านคน ความท้าทายอยู่ที่ครึ่งปีหลัง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ 3 Scenario คือ
1. Worse Case ถือเป็นรายได้ขั้นต่ำที่ต้องทำให้ได้ = 2.7 ล้านล้านบาท มาจาท 36 ล้านคน x 50,000 บาท ต่อคนต่อทริป = 1 .8 ล้านล้านบาท และไทยเที่ยวไทย 200 ล้านคนครั้ง x 4,500 = 0.9 ล้านล้านบาท
2. Base Case = เป้าท้าทายที่เป็นไปได้ = 3 ล้านล้านบาท มาจาก 38 ล้านคน x 50,000 บาท ต่อคนต่อทริป = 1.9 ล้านล้านบาท และ 220 ล้านคนครั้ง × 5,000 = 1.1 ล้านล้านบาท จากไทยเที่ยวไทย เป้านี้ถือว่าท้าทาย แต่มีโอกาสทำได้สูง เราควรตั้งเป็าหมายที่ 3.02 ล้านล้านบาทถือเป็น New High เพราะเราเคยได้ 3.01 ล้านล้านบาทในปี 2562
3. Best Case 3.5 ล้านล้านบาท = เป้าหมายสูงสุด ที่ทำได้จาก 40 ล้านคน x 56,000 บาท = 2.24 ล้านบาท และไทยเที่ยวไทยอีก 1.26 ล้านบาท = 229 ล้านคนครั้ง x 5,500 บาท



        ดังนั้นโจทย์ที่ต้องทำเพื่อเพิ่มรายได้จาก 2.7 เป็น 3.5 ล้านล้านบาท คือ
1. เติมจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 4 ล้านคน จาก 36 เป็น 40 ล้านคน
2. เพิ่มค่าใช้จ่ายนักท่องเที่ยวต่างชาติ จาก 50,000 เป็น 56,000 บาท
3. เพิ่มจำนวนทริปและค่าใช้จ่าย ไทยเที่ยวไทย



        นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) กล่าวเสริมว่า เพื่อเพิ่มรายได้จาก 2.7 ล้านล้านบาท เป็น 3.5 ล้านล้านบาท ยุทธศาสตร์ที่ สทท. เสนอต่อภาครัฐคือ
1. เติมนักท่องเที่ยวต่างชาติ 4 ล้านคน ระยะสั้น 1. 5 ล้านคน ใน Q3 เช่น ตะวันออกกลาง อินเดีย จีนและคนเชื้อสายจีน อาเชียน และออสเตรเลีย / Q4 25 ล้านคน ในช่วง Hi-Season โดย Mega Event /Joint Promotion / Influencer
2. เพิ่ม Spending โดยเพิ่มวันพัก เพิ่มค่าใช้จ่ายต่อวัน เราต้องหากิจกรรมเสริม เติมเมืองน่าเที่ยว เติมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กีฬาชุมชน สิ่งแวดล้อม อาหาร ผลไม้ สินค้าของฝาก OTOP / GI ผ่าน Softpower ต่างๆ ของรัฐบาล เพื่อเพิ่มรายได้ 12%




3. เพิ่มรายได้ไทยเที่ยวไทยด้วย บัสทัวร์ทั่วไทย รัฐทัวร์ทั่วไทย อบท.เที่ยวช่วยชาติ และ Digital Wallet เพื่อการท่องเที่ยวในประเทศ เพิ่มรายได้ 250,000 ล้านบาท ได้ในปีนี้
4. เพิ่มพันธมิตรทางการตลาด โดยสร้าง Thailand Team 29 สำนักงาน ททท. x 10 agent ช่วยกันทำตลาดเชิงรุก-เชิงรับ ร่วมกับ 100 คลังสมองท่องเที่ยวไทย
5. เพิ่มศักยภาพบุคลากรและผู้ประกอบการด้วย Tourism Clinic เช่น อบรมมัคคุเทศก์ และ facilitator สำหรับ Medical & Wellness / การฝึกอบรมภาษาอาหรับ จีน รัสเซีย เกาหลี ฯลฯ/ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและธุรกิจท่องเที่ยวที่ตอบโจทย์ Mega Trend / การบริหารการเงินและภาษี / การใช้เทคโนโลยี AI & Cloud เพื่อการท่องเที่ยว การยกระดับสู่ Tourism Development Goal (STG) เป็นต้น
6. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของการท่องเที่ยวในระยะยาว เพื่อผลักดันดัชนี TTD/ จากอันดับที่ 47 สู่ 25 ของโลก โดยใช้กองทุนท่องเที่ยวฯ เพื่อซ่อมสร้างคนและแหล่งท่องเที่ยว ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย ห้องน้ำสะอาด ป้ายบอกทาง ร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อการเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน



สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เสด็จพระราชทานเข็ม “พุ่มเพชร

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เสด็จพระราชทานเข็ม “พุ่มเพชร”  สัญลักษณ์ของมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพร...